ครั้งหนึ่งบนแผ่นดินไทย เงินและยศ เคยมีอำนาจเหนือชีวิตหนึ่งชีวิต อันนี้หละเป็นสิ่งที่ชี้บ่งว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น แต่คำว่านั้นนี้ช่างไกลแสนไกล เพราะถ้าคุณเป็นทาส ต่อให้ดิ้นรนขวันขวายมากแค่ไหนก็ตาม ศักดิ์และศรี ในสังคมก็ยังคงด้อยอยู่ดี ด้อยกว่ามาตั้งแต่เกิด จนตาย ด้วยถูกตีตราว่า ทาส
การเลิกทาส คือ ชัยชนะยิ่งใหญ่ของมนุษย์ในอันที่จะเล็งเห็นคุณค่าของปัญญา ความสามารถ ของมนุษย์ว่ามีคุณค่าเหนือทรัพย์สินเงินทอง หรือยศฐาบันดาศักดิ์ใดจะมาควบคุมให้อยู่ภายใต้อำนาจได้ หรือกล่าวอักนัยหนึ่งคือ การยืนยันว่า เงินและอำนาจซื้อคนไม่ได้ ต่อให้อิสรภาพในคราเลิกทาสนั้น ต้องถูกแลกด้วยตัวเงินก็ตาม เพราะพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า ท่านได้จัดให้มีการผ่อนถ่ายให้ทาสเป็นไท ระหว่างนายเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และทรงประกาศยกเลิกให้ประเทศไม่มีทาสอีกต่อไปเมื่อ ๑ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘)
ค่าตัวของทาส คือ ค่าตัวที่สามารถไถ่ถอนตนเองให้พ้นจากความเป็นทาส
สำหรับค่าตัวทาสจะมากจะน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายประการทั้งเพศ อายุ ความรู้ความสามารถ ในกฎหมายตราสามดวงซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ กำหนดกรอบค่าตัวทาสไว้คร่าวๆ ตามเพศและอายุ โดยปกติเพศชายในอายุเท่ากันจะมีค่าตัวตามกฏหมายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย เช่น
เด็กชาย ๑-๒ ขวบ ค่าตัว ๔ ตำลึง (๑๖ บาท) / เด็กหญิง ๓ ตำลึง (๑๒ บาท)
เด็กชาย ๗-๘ ขวบ ค่าตัว ๘ ตำลึง / เด็กหญิง ๗ ตำลึง
ผู้ชายอายุ ๑๖-๒๐ ปี ค่าตัว ๑๒ ตำลึง / ผู้หญิง ๑๐ ตำลึง
ผู้ชายวัยฉกรรจ์ อายุ ๒๑-๒๕ ปีค่าตัว ๑๓ ตำลึง / ผู้หญิงค่าตัว ๑๒ ตำลึง
หลังจากพ้นวัยดังกล่าวแล้ว ค่าตัวของทาสจะลดลงตามอายุ เนื่องจากเริ่มมีอายุ ทำงานให้กับนายเงินได้ไม่มากเท่าวัยหนุ่มสาว ค่าตัวจะลดลง คือ
ผู้ชายค่าตัวยังคงมีค่าเงินสำหรับค่าตัวนานคือ อายุ ๒๖-๔๐ ปี ๑๔ ตำลึง(๕๖ บาท) / ผู้หญิงค่าตัวลดลงอายุ ๓๑-๓๕ ปีเหลือ ๑๑ ตำลึง ยิ่งถ้ามีอายุ ๖๑-๖๕ ปี จะเหลือ ๖ ตำลึง และอายุ ๘๖ ปีขึ้นไป เหลือ ๔ บาท
ผู้ชายหลังอายุ ๔๐ ปี ค่าตัวก็ลดลงเช่นเดียวกัน เช่น อายุ ๔๑-๔๕ ปีเหลือ ๑๓ ตำลึง
อายุ ๕๑-๕๕ ปีเหลือ ๑๐ตำลึง
อายุ ๘๖ ปี ขึ้นไป เหลือ ๖ บาท
ส่วนความรู้ความชำนาญก็ได้แก่ ความสามารถในการอ่านหนังสือ ถ้ามีก็สามารถช่วย นายเงินทำบัญชีได้ เขียนสัญญาได้ ความรู้ในการทำอาหารต่างๆ ความรู้ในงานช่าง งาน หัตถกรรมต่างๆ ความละเอียดหรือหยาบในการทำงานเหล่านี้กฎหมายมิได้กำหนดเอาไว้ นายเงิน จะเป็นผู้พิจารณาและกำหนดเอง ความรู้ความชำนาญขนาดไหนควรจะได้ค่าตัวสักเท่าใด หาก ทาสเป็นหญิงสาวสวย นายเงินเป็นผู้ชายก็อาจจะให้ค่าตัวสูง เพราะอาจจะเอาทาสคนนั้นเป็น ภรรยาได้หากครบ ๑ ปีแล้ว สามีหรือพ่อแม่ไม่มาไถ่ตัวไป กฎหมายให้ความคุ้มครองมิให้นาย เงินข่มขื่นทาสสาวได้เพียง ๑ ปี
โชคดีแค่ไหนที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระมหากรุณาธิคุณยิ่ง จะเป็นการน่าเสียดายมาก หากเราทำลายรากฐานที่พระองค์ท่านวางไว้ โดยการไปกำหนดตีราคาคุณค่าของคนๆหนึ่ง ด้วยฐานะ และเงินทอง ด้วยอำนาจ และเกียรติยศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเครื่องอำนวยคุณค่าของชีวิต คือ ทำให้การสร้างคุณค่าให้ชีวิต ทำง่าย ทำได้สะดวกกว่าคนที่ เงินน้อย วาสนาน้อย เกียรติยศน้อย หรือการทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทองและอำนาจ ก็ไม่ต่างจาก กลับไปเป็นทาส ภายใต้สภาวะมีอิสระ ซึ่งอันตรายกว่าการเป็นทาสมาก เพราะชีวิตลำบากของทาสจะเตือนให้เราไม่ย่นย่อที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นปลดแอกนี้ แต่การตกเป็นทาสเงินและอำนาจอย่างมีอิสระ ทำให้เราไม่เห็นทุกข์ภัยของมัน ก็จะหลงคิดว่า หนทางนี้หละคือความสุข ติดอยู่ในบ่วงยาวนาน
สะท้อนสำนวนที่เรามักพูดกันติดปากว่า “เวลากระชั้นชิดผูกมัด ธุรกิจ รัด ตัว” พูดกันจนเป็นสำนวนคุ้นชิน แต่คนก็ยังไม่พยายามที่จะดิ้นให้หลุดพ้นนะ กลับพยายามดิ้นให้มัดตัวเองมากกว่าเดิม ใหญ่กว่าเดิม โตกว่าเดิม มีภาระมากขึ้นๆกว่าเดิม จริงๆแล้วชีวิตแบบนี้กำลังดิ้นรนไปหาความสำเร็จก้าวหน้า หรือถอยหลังลงคลองนับวันจะกลายเป็น ทาส เงิน กันแน่ เพื่อเป็นการเตือนตัวเองเสมอ จึ่งควสร้างกุศลทำบุญที่ไม่ใช่ตัวเงิน อาทิ การลงแรงช่วย การเสียสละเวลา การให้ความรู้แก่ผู้อื่น จำไว้เสมอว่า บุญที่ชั่งตวงวัดและตีราคาได้ (เช่น งวดนี้ถวายไปแสนนึง แบบนี้ตีราคาได้) ได้บุญน้อยกว่าบุญที่ชั่งตวงวัดไม่ได้ เช่น การนั่งสมาธิ การให้ความรู้เป็นทาน การให้อภัยทาน เพราะหัวใจหลักของการทำบุญในแง่ของการให้ทาน มุ่งไปที่ การเสียสละ ประโยชน์ส่วนตน เพื่อผู้อื่น
ความดีอย่ารีรอครับ แต่ต้องทำควบคู่พร้อมๆกับการทำงานหาเงินหาความก้าวหน้า ละพยายามทำความดีอย่างอื่นนอกไปจากการสละทรัพย์บริจาค เพราะทรัพย์เป็นสิ่งพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนสละได้ง่าย เพราะเราคุ้นชินกับการจับจ่ายใช้สอย เรารับมา เราสละออก แลกเปลี่ยนไปมาทุกวันๆ เพราะฉะนั้นก็ทำเหมือนกัน การสร้างความดีอันอื่น ก็โดยการที่พยายามทำบ่อยๆ ทำสม่ำเสมอ
เห็นหน้ากันเมื่อเช้า สายตาย สายสุขอยู่สบาย บ่ายม้วย บ่ายยังรื่นเริงกาย เย็นดับ ชีพนา เย็นอยู่หยอกลูกด้วย ค่ำม้วย ดับสูญ
พระราชนิพนธ์ในหลวงรัชกาลที่ห้า
Comments