สำหรับคนที่อารมณ์ค้างกับ อี้จิง จะบอกว่า การ์ตูน อี้จิง เท่าที่ผมมี มีสามเล่มนะครับ ตามภาพปกที่โชว์ไว้ สองเล่มแรกเป็นภาษาจีน เล่มหลังเป็นภาษาไทย
ถ้าใครอ่านจีนได้ ไปโหลดอ่านเอาที่นี่
เล่มภาษาไทยนี่ ผมถ่ายสำเนามาจาก หอสมุดแห่งชาติเมื่อนานมาแล้วครับ อธิบายยินหยาง ความสมดุลย์ อี้จิง และกว้าต่างๆ เชื่อว่า อ่านครึ่งเล่มแรกทุกคนคงสนุกและเข้าใจดี แต่ครึ่งเล่มหลังในส่วนที่อธิบายความหมายแต่ละกว้า (อี้จิง มี 64 กว้า-64 แบบสัญลักษณ์) และก็อธิบายแต่ละเหยา (แต่ละขีดๆใน 64 กว้านั้น หนึ่งกว่ามี 6 ขีด) สรุปมีคำอธิบายทั้งสิ้น 384 ขีดกว้าโดยประมาณ นี่แค่เบาๆ ยังไม่รวมการผสมกว้า การอ่านกว้าอดีต ปัจจุบัน อนาคต บอกใบ้สำหรับคนขี้เกียดและมึน เมื่ออ่านถึงคำอธิบายกว้า ไม่ต้องไปใส่ใจหมดก็ได้ทีแรก
ต้องบอกก่อนนะ พวกสมองที่ไปทางคิดคำนวน จะเข้าใจดวงจีนและอี้จิงยากมาก นักศิลปะกับนักกวีที่มีจินตนาการเท่านั้นที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ เพราะบอกแล้วว่า ดวงจีน ต้องมองแบบภาพ อย่าไปมองเป็นตัวหนังสือครับ ก็ขนาดตัวหนังสือจีน เขายังย้ำตลอดเลยว่า มันคือ อักษรภาพ แปลว่า ทุกๆคำ คือ หนึ่งรูปภาพ อย่าไปพยายามแปลคำแต่ละคำเป็น ความหมายคำ ละจะงง
คนเราสมัยนี้ทุกอย่างมีภาพประกอบหมด แม้แต่นิทานก็มีภาพประกอบ สมัยก่อนเชื่อไหม เล่าหนูน้อยหมวกแดง หน้าตาหมาป่าในเรื่องในปรากฎในหัวเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนหมาตัวดำๆ บางคนหมาตัวสีน้ำตาลๆ แต่สมัยนี้ลองไปให้เด้กวาดสิไม่เชื่อ ออกมาคล้ายๆกันหมดหละ เพราะเราพยายามสร้างสื่อรูปภาพ ออกมาให้เค้าเห็น เมื่อตาพัฒนามาก จินตนาก็เสื่อมถอย เลยไม่แปลกที่คนสมัยนี้จะเข้าใจดวงจีนได้ยาก เลยไม่แปลกที่จะตามผมพูดในวันงานวันที่ 25 มค 2557 นั้นไม่ทันหรอก คนตามทันก็บอกได้เลยว่า เป็นคนชอบศิลปะ ชัวร์ ล้านเปอร์เซ้นต์ พวกที่ตั้งใจจะมาดูดวง มาหวังรวย พวกนี้ฟังละจะงง เพราะมันจะเกิดคำถามทันทีว่า รู้อี้จิงไปแล้วมันจะได้อะไร ขอบอกตรงนี้ว่า มันไม่ได้อะไรที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้หรอก เพราะนี่คือ อภิปรัชญา โคตรของโคตรปรัชญาว่างั้น แต่ถ้าเข้าใจบ้าง จำได้บ้าง มันก็จะมีประโยชน์แบบ แว๊ปขึ้นมาในหัว
ให้อ่าน ชูเหยา กับ ลิ่วเหยา คือ อี้จิง นี่เวลาอ่านสัญลักษณ์แต่ละเส้น เขาอ่านจากล่างขึ้นบนนะครับ เส้นล่างคือ เส้นแรก ความหมายแรก แล้วไล่ๆ ขึ้นไปจนบนสุด เพราะงั้นก็คือ อ่านความหมายเส้นแรก เพราะเป็นตัวเปิดประเด็น อ่านความหมายเส้นสุดท้าย เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อเรื่องราว ไม่ใช่จุดจบนะ เชื่อมต่อเหมือนกับดูหนังที่ก่อนละครจบจะมีบอกว่า แต๊นๆ ตอบต่อไป จะฉายเรื่องอะไรต่อ ประมาณนั้น ส่วนหัวใจสำคัญของแต่ละสัญลักษณ์ทั้ง 64 แบบนั้น ก็คือ เส้นที่ห้าครับ เส้นรองสุดท้าย อ่านตามที่ผมว่านี่หละ เพราะนี่คือหนังสือแปลจีนมาเป็นไทย ขืนไปอ่านทุกตัวอักษรนะ มึน งงตาย อ่านแบบสกิมแสกนไปก่อนหนึ่งรอบ ละอยากทำความเข้าใจ อ่านเฉพาะไอ้สามกว้านี่ให้รู้แบบคร่าวๆไปก่อน พอเริ่มเข้าใจบ้างเราจะมีกำลังใจอ่านต่อ แต่ถ้าเล่นจะต้องทำความเข้าใจหมดในวันเดียว ขอร้อง ฉลาดเท่าขงจื้อไหมหละ ขงจื้อยังบอก โอ๋หนอ ฉันรู้จัก อี้จิง นี่ช้าไป ขอยืดอายุให้ไปตายเอาอีก 50 ปีข้างหน้าได้ไหม คงจะเข้าใจอี้จิงแท้ๆ อย่างลืมว่านี่คือ ฉวินจิงจือโส่ว หมายถึง สุดยอด สูงสุดของทุกๆตำราของจีนโบราณแล้ว ลูกพี่ใหญ่ของบรรดาตำราทุกแขนงทั้งปวง ว่าแบบนั้น
แบบที่สอง คือ ไปท่องปากว้าก่อน จำให้ได้ว่า เฉียน คุน ตุ้ย หลี ขั่น เกิ้น เจิ้น ซวิ่น เพราะใน 64 กว้า แต่ละกว้า ประกอบด้วย ซ่างกว้า เซี่ยกว้า คือเอาปากว้ามาวางแบบแฮมเบอร์เกอร์ อันหนึ่งวางบน อันหนึ่งวางล่าง ได้เป็น 1 สัญลักษณ์ 8*8 ก็ได้ 64 สัญลักษณ์ เพราะงั้นถ้าจำความหมายแต่ละกว้าได้ ก็จะพอเข้าใจง่ายๆ เลาๆ ว่าเค้าสื่อถึงอะไร เช่น กว้าชื่อสุย แปลตามความหมายก็คือ คล้อยตาม (เอาแบบง่ายๆนะ จริงๆอี้จิงมีคำแปลยาวกว่านี้สักสามสี่คำ) เราก็มาดู ปากว้าที่ประกอบเป็นสุย ก็คือ บนเป็นตุ้ย ข้างล่างเป็นเจิ้น แปลแบบคนซื่อบื้อก็อ้อ ตุ้ยคือ บึงน้ำ จำได้ ส่วนเจิ้นคือ สายฟ้า จำได้ เอ้าแล้วสายฟ้าบวกบึงน้ำ มันกลายมาเป็น สุย-คล้อยตามได้ไง ถ้ากลับไปดูความหมายปากว้าในตารางของผมที่เขียน ความหมายลึกๆของฟ้าผ่า คือ ทำให้ทุกอย่างสะเทือนเลื่อนลั่น ส่วนลึกๆของบึงคือความน่าอภิรมย์ รื่นรมย์ บันเทิงใจ เคลื่อนคล้อย งดงาม คือมันต้องใช้จินตนาการหนะบอกแล้ว ก็คือเก็บงำเอาความเก่งกาจของตัวเอง ความกร่างเอาไว้ข้างในเถอะ แล้วแสดงออกมาด้วยมิตรไมตรีที่ชื่นบาน ข้อสำคัญ สุย นี่จะมีอัตตาไม่ได้เลย คือ ข้า ตัวข้า ของข้า ไม่ได้เด็ดขาด สายฟ้า มันมาว๊าปเดียวแล้วก็หายไป ส่วนบึงหนองนี่ อยู่ยังไงก็อยู่อย่างงั้น ถ้าไม่ละความเป็นตัวข้า ไม่มีทางตามคนอื่น หรือคล้อยตามคนอื่นได้เด็ดขาด มันก็พอๆกับมาฟังดวงจีนที่บรรยาย คิดในใจก่อนละ เฮ่อ อันนี้กูรู้แล้ว จบละครับ ไม่ได้ฟังหรอกที่ใครพูดๆหน้าห้อง นั้นเราก็วกมาดูความหมายที่เขาแปลมาของสุย ผมบอกว่าถ้าเข้าใจยาก ให้อ่านขีดแรก ขีดแรกแปลว่า ตามให้ทันเข้าให้ถึงความต้องการของคนรอบข้าง คือ รู้ใจเขา เดาทางเขาได้ กว้าสุดท้าย แปลว่า เราจะต้องไปร่วมผูกสัมพันหรือสมาคมกับใครๆไม่ว่าเราจะเต็มใจชอบใจไม่ชอบใจ เห็นไหม ก็บอกว่า ต้องละอัตตา มองเขาให้ออก เพราะสุดท้ายเราต้องไปอยู่ร่วมกับเขา ส่วนหัวใจสัญลักษณ์สุย คือ เส้นที่5 เขียนว่า ผู้อ่อนน้อม แม้เป็นผู้ใหญ่ก็รับฟังผู้น้อยจะได้รับผลสำเร็จ ก็สรุปรวมๆ ถ่อมตัว ลดอัตตา อะไรทำนองนี้ละนะ นี่ยกตัวอย่างนะครับ
เพราะงั้นถ้าเราไม่มองเป็นคน อยากจะขอแหกคอกเอามาเทียบเป็น ฮวงจุ้ย สุยนี่ตรงกับ ไฟหยินฉลู ตามหลักกะจื้อโป๊ยหยี่ ถ้าโฮ่วเทียนปากว้าคือ ทิศตะวันออกกับตะวันตก เอ่าทีนี้คนมีจินตนาการร้อง อ้อ ทันที สรรพต้นไม้ หันกิ่งหันดอกตัวเอง คล้อยไปตามดวงตะวันหมดนะ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ วงปีต้นไม้ยังเอียงเลย ไม่มีเป็นวงแบบสมมาตร ถี่ห่างของวงปีตามน้ำมากน้ำน้อย ส่วนเอียงด้านไหนกว้างแคบ พอเดาๆได้ว่า ทิศที่เฉไปนั้นคือ ตะวันออก แต่ปัจจัยอาจผันแปรอื่นๆด้วย เจิ้นล่างตุ้ยบน ตะวันออกไปตะวันตก ยังไงมันก็ต้องไปตามนี้จะไปขัดขวาง ยื้อยุดดวงตะวันว่า ช่วยขึ้นอีกทาง ตกอีกทางไม่ได้หรอก เพราะงั้นถ้าได้กว้านี้มา วิ่งไปมองเลย ทิศตะวันออกของบ้าน ทิศตะวันตกของบ้าน ต้องไปให้ความสำคัญสองทิศนี้ละในช่วงนี หรือถ้าของหายอยากตามหา ก็ตามหาในทิศนี้ ให้ความสำคัญในสิ่งสัมพันะ์และการเคลื่อนคล้อยของสองทิศนี้ ทำนองนั้น คือ มันเป็นเรื่องของคนบ้า คนมีจิตนาการ คนคิดนอกกรอบ คนขี้โม้ รวมๆกันไว้ ถึงจะเอาไปใช้งานได้ พวกมองโลกแบบซื่อๆ หัวทื่อๆ ไม่มีทางหรอก หรือถ้าจะแปลความตามโป๊ยหยี่ ก็คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะไฟหยินฉลู ก็จะทราบอีกว่า แทนที่จะไปมองทิศตะวันออกแบบตรงๆ ให้เฉียงเยื้องๆมาหน่อยทางเหนือ หรือไม่ถ้าจะมองเป็นแบบธาตุ มันคือไฟดิน ไฟคือเทียนกาน ดินคือ ตี้จือ ไฟคือสิ่งที่แสดงออกชัดแจ้ง ดินคือด้านในภายใน และฉลูดเป็นดินแห้ง ที่ซ่อนทองซ่อนน้ำ ก็หมายถึงแบบที่กว้าสุยบอก ไฟคือจรรยาความฉลาด คือให้แสดงออกแบบคนฉลาดมีมารยาท มีจรรยา แต่ภายในนั้นให้หนักแน่นเหมือนดิน กักเก็บความเป็นอัตตาทิ้งไว้เหมือนดิน ดินมีทองมีน้ำ คือ ซ่อนความรู้จักตัดสินใจเอาไว้ เพราะ ทองคือฉงเก๋อ วันนั้นบอกแล้ว ฉงเก๋อคือกล้าตัดสินกล้าเปลี่ยนแปลง น้ำคือคล้อยตามมีความเจ้าเล่ห์ไม่ประมาท งั้นแปลเป็นอะไรได้อีก แปลเป็นเวลาก็ได้ ว่า ยามฉลูราวๆ ตีหนึ่งกว่าๆ หรือแปลว่าเป็นอวัยวะ ฉลูก็คือ ปาก ก็คือเน้นย้ำเรื่องการแสดงออก จะเห็นว่ามันเป็นเรื่องราวเดียวกัน มีสัมพันธ์อยู่ ถ้าเรามีภูมิรู้เยอะ เราก็ต่อยอดได้เยอะ ถ้าเรากลวงๆ ไม่เคยรู้อะไรเลย ห้าธาตุก็ไม่รู้ ยินหยางก็ไม่รู้ อ่านอี้จิง ตันกับตัน จำไว้ว่า อี้จิงไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อฟันธง ถูกหรือผิด ดีหรือร้าย เสียหรือได้ แต่ถูกสร้างเป็นคำแนะนำในการหาทางออกเอาไว้
ทั้งหมดนี่ผมคร่าวๆนะ เพราะว่าก็กำลังศึกษาครับ ยังไม่ได้แจ้งสว่างถ่องแท้หมด ใครที่พออ่านจีนได้ แนะนำให้ว่า ก่อนจะไปอ่าน อี้จิงเหยวียนเหวิน ไปหา อี้จ้วน มาอ่านก่อน อี้จ้วนคือสิ่งที่ขงจื้ออธิบายเกี่ยวกับอี้จิงไว้ คนเราไปคิดว่า ชิ้นโบว์แดงของขงจื้อคือ หลุนอวี่ จริงๆไม่ใช้ อี้จ้วนนี่หละ ของจริง
Comments