ปรัชญาจีน และพุทธ ว่าด้วย ดนตรีที่เหมาะกับลูกน้อย
ดนตรีสำหรับเด็ก ลูกในท้อง
ลูกแก่แดดแก้อย่างไร
อยากให้ลูกดีทำอย่างไร
และการทำบุญออนไลน์แห้งแล้งอย่างไร
ตั้งแต่เด็กเป็นคนชอบฟังดนตรีจีนและดนตรีล้านนาโบราณมากๆ ไม่รู้เพราะอะไรนะครับ ในสมัยที่เพื่อนๆผมเค้าชอบฟังเพลงสากลหรือเพลงฝรั่งไปตามยุค ผมกลับมีสองภาค คือ ภาคหนึ่งคือ ดนตรีไทยโบราณ หรือล้านนา ก็ได้แค่ ค่าว ซอ ขับเสภา ปี่พาทย์ ดนตรีบรรเลงต่างๆ โดยเฉพาะ ซึง สะล้อ ฯ หนักเข้าขึ้นก็หัดเล่นด้วยตนเองเสียเลย เคยได้บุญวาสนาอันดีมีโอกาสศึกษากับศิลปินล้านนาด้านดนตรีผู้มีชื่อ คือ ท่านอาจารย์วิเทพ กันทิมา ละมารับทราบความจริงในภายหลังว่า ระบบการเรียนดนตรีของล้านนา ไม่ได้เรียนด้วยตัวโน๊ต แต่เรียนด้วยการท่องจำ จำอะไร จำเสียงที่ครู ซึ่งคนล้านนาเรียก พ่อครู ดีด หรือ สี ให้เราฟัง ดนตรีล้านนาพื้นบ้านจึงมักจะได้ยินกันตาม วัด ท้องทุ่งนา หรือไม่ก็ที่สาธารณะคล้ายดนตรีวนิพกก็ไม่ปาน และอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ สายในวัง หรือในคุ้มหลวงเจ้านาย ทั้งนี้ เมื่อยุคสมัยเจริญขึ้นก็ได้มีการเอา โน๊ตดนตรีมาใส่ ทำให้เรียนรู้ง่าย แต่สิ่งที่ต้องแลกกันไปคือท่วงทำนองความพริ้วของเสียงโน็ตดนตรีบางตัวที่ขาดหาย เพราะไม่สามารถจดเสียงนั้นเป็นตัวอักษรได้ ต้องอาศัยฟัง จำ และเล่นต่อๆกันเอา คุณพ่อเคยเล่าว่า นักดนตรีล้านนาเก่งๆบางท่าน แค่ได้ฟัง พ่อครู ดีดซึง หรือสีสะล้อ เพียงไม่กี่หน ก็สามารถใช้ความสามารถทางการได้ยิน คือหู อันพิสดารกว่าชาวบ้าน แยกแยะตัวโน็ตและดีดตามได้ในเวลาไม่นาน
ย้อนกลับมาหาสิ่งที่คู่ขนานคือ ดนตรีจีน เช่นกัน เมื่อได้ยินเสียงดนตรีจีนจะทำให้รู้สึกมีความสุขมีชีวิตชีวามา ตรงกันข้ามกับคนสมัยใหม่คือผมค่อนข้างไม่นิยมฟังดนตรีสากล ค่อนไปทางรังเกียจเสียด้วยซ้ำ เพราะดนตรีสมัยก่อน หรือดนตรีบรรเลง มักบรรยายธรรมชาติ ชีวิต ความเป็นไปในโลก แต่ดนตรีสากล เพลงสากล ณ สมัยผมก็คือว่า บรรยายเอาเรื่องรักๆบ้าง สังคมแย่ๆบ้าง เป็นหลัก ฟังแล้วจิตตก พูดง่ายๆ ไม่ต้องมีเนื้อร้อง แค่ทำนองก็จิตตกแล้ว ทำได้ดีสุดคือปิดทุกอย่างแล้วไม่ฟังทั้งนั้น
ทีนี้ก็เกิดความติดค้างใจอันนึงคือว่า เราชอบเสียง กู่เจิงมาก ฟังละเพลินมากครับ ยิ่งกว่าเปียโน ก็เลยมาได้รู้ความจริงว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้ สามารถดีดเอาตัวโน๊ตได้หลากหลายเสียงมากๆ แม้นแต่เสียงที่ไม่อาจจดเป็นตัวอักษรได้ แต่สุดยอดปนความ งง คืออะไร ก็คือ กู่ฉิน 古琴 ฟังทีไรไม่เคยเกินยี่สิบนาทีหรอก เพราะว่า อะไรไม่รู้ ฟังแล้ว งง แต๊ง แต๊ง และนานๆ มีต๊อง ขึ้นมา มีตะละแล่งแต๊ง และก็ ตึ่งวึ้ด ตึ่งวึ้ด สารพัดเสียงแปลกๆ กับทำนองที่ดูเหมือนไม่ต่อเนื่องกัน เดียวหายไปสักพัก เดียวมาใหม่ เดียวนอกจากดีด ก๊มีเคาะบ้าง ปะปนอลหม่าน ตอนนั้นคิดนะ แต่พอตอนนี้มาฟัง อ้อ เข้าใจละ มิน่าเขาว่านี่มันคือ เครื่องดนตรีชั้นสูง คือคุณต้องใช้จิตสงบขั้นนึงในการฟัง คือจะมาฟังเพื่อให้ผ่อนคลายแบบคลายเครียดเหมือนดนตรีอื่นไม่มีทางครับ ฟังละยิ่ง งง แต่ถ้าฟังกูฉิน ด้วยใจสงบ ไม่กระวนกระวาย ไม่เร่งรัด ไม่เร่งรีบ เสียงดนตรีกู่ฉินกลับช่วยทำให้ใจคลาย มีความสงบลงได้ เห็นภาพธรรมชาติ และบรรยากาศอันงดงาม แบบปราศจากมลทินใดๆนอกจากอารมณ์ทางใจของผู้เล่นที่ใส่ลงไปบ้างตามสามัญวิสัยของปุถุชนเท่านั้น แต่ก็เบาบางนัก เพราะคนเล่น กู่ฉินได้ แต่ละคนพอผมฟังอารมณ์ตอนเขาดีด วงเล็บ ฟังด้วยจิต ปรากฎว่าจะมีความนิ่ง สงบ มากกว่าทั่วไปหน่อย คือไม่ได้เน้นเพื่อเอาเสียงเพราะ เอาบันเทิง เอาใจคึกครื้น เอาสนุกแต่อย่างเดียว แต่เหมือนเป็นการวาดภาพ โดยมีแต่ละเส้นสายของกู่ฉินเป็น พู่กัน และเสียงนั้น เป็นน้ำหมึก แต่งแต้มออกมาได้
ยังจะได้ดี ผมเริ่มศึกษาปรัชญาจีนใหม่ๆ (ตะก่อนผมเรียกพวกนี้ว่า วิชา โหราศาสตร์จีน คือ รวมทั้ง ดวงจีน ฮวงจุ้ย แต่พักหลังนี่ชักรู้เยอะ ล่วงไปถึงวิชาที่คนไทยเองก็ยังไม่รู้จักหลายวิชา การแพทย์ก็ด้วย กำลังภายในสมาธิก็ด้วย เลยขอเรียกรวมใหม่ว่า ปรัชญาจีน) ทั้งนี้ ด้วยความเป็นคนชอบค้นคว้า ในเรื่อง ยินหยางอู่สิง 陰陽五行 หรือ ห้าธาตุดวงจีน ก็เลยได้ทำการค้นคว้าหมายอย่างละเอียด ถ้าเรื่องนี้เกี่ยวกับแพทย์จีน ก็ต้องเอาไปถามแพทย์จีน เรื่องนี้เกี่ยวกับศิลปะ ก็ต้องไปค้นความรู้ทางศิลปะจีนมาตอบ และถ้าเรื่องนี้เกี่ยวกับดนตรีหละ แน่นอนครับ ผมดั้นด้นไปพบอาจารย์สอนดนตรีจีนผู้มีชื่อท่านนึงในไทย เพื่อไปถามท่านว่า โน็ตทั้งห้าแบบนี้ ผมอยากได้ยินเสียง ช่วยดีด หรือ เคาะ ให้ผมฟังหน่อยได้ไหม
อาจารย์ผู้นั้นกล่าวถามผมว่า “ซินแส ไปรู้จักโน็ตพวกนี้ได้อย่างไรครับ นี้ตัวโน๊ตสมัยโบราณ
สมัยนี้ไม่มีแล้ว บางตัวนี้ยอมรับว่า จนปัญญาจะ ดีด ให้ฟังได้จริงๆนะครับ”
เป็นอันว่า เราทราบแต่ตัวหนังสือ และนี่เป็นวรรคเดียวที่ผมแปลได้แบบยังไม่สิ้นความในใจ เพราะยังไม่อาจพิสูจน์ให้ถึงที่สุด จนกระจ่างใจได้
เลยได้ข้อสรุปว่า ใช่ครับ เหมือนที่ปรัชญาจีนกล่าว เสียง คือ คลื่น คลื่น คือ ธาตุน้ำ หูคนเราก็เป็นตัวรับธาตุน้ำ เมื่อเป็นธาตุน้ำ ความเปลี่ยนแปรจึงหลากล้านหลายแสนรูปแบบมาก พลิกแพลงได้สารพัด ในขณะเดียวกันก็แปลว่า ถ้าเพี้ยน ก็สามารถเพี้ยนได้จากอันเดิมแบบไม่มีทางกลับไปเหมือนเดิมได้เช่นกัน เพราะความที่ระดับเสียงใกล้กันมาก ไม่ต้องมองอะไรมากเลย มองทฤษฎีหูสุนัขกับหูคน เราอยู่บนโลกใบเดียวกัน ณ ที่แห่งเดียวกัน แต่ สุนัข กลับสามารถรับคลื่นเสียงที่คนเรารับไม่ได้ ก็พูดได้ว่า เขาสามารถรับข่าวสารได้เยอะกว่าเราทางเสียง นั้นเอง
คุณเคยสงสัยมั้ยว่า ทำไม พระพุทธเจ้า ท่านตรัสผู้ได้ยินได้ฟังมาก หรือที่เราเรียก คนฉลาดๆมีความรู้ ว่า พหูสูต ทำไมท่านไม่ตรัสเรียกผู้ได้เห็นได้อ่านมาก กลับยกย่องผู้ได้ยินได้ฟังมาก คือ ยกย่องการใช้หู มากกว่าใช้ตา แต่จริงๆคนเราก็รับสัมผัสพอๆกันหละครับ แต่ทำไมท่านไปเน้นที่ การฟัง มากกว่าการอ่าน
แน่นอนหละ ในสมัยโบราณบางท่านอาจจะบอกว่า ก็ไม่มีตัวอักษรพอจะมาจารึกถ้อยคำได้หมด หรือการสอนก็เป็นการสอนแบบปากเปล่า พูดให้จำ มากกว่าเป็นการให้ไปอ่าน หรือมีตำราให้อ่าน เพราะฉะนั้นคำสอนในศาสนาพุทธ ก็เลยเป็นเหมือนสมุดจดบันทึก คำพูดของพระพุทธเจ้า และเรื่องเล่าของพระองค์ที่พระสาวกจดจำมา ตลอดจนคำพูดด้วย เพราะฉะนั้น การสื่อการที่โบราณที่สุด คือ เสียง คนเราเริ่มพูดได้ ก่อนเขียนได้ เสมอ ซึ่งขณะนี้ก็ยังเป็นอยู่ใช่ไหมครับ เด็กเกิดใหม่ พูดว่า แม่ หรือ พ่อได้ ก่อนจะเขียนคำว่า พ่อ แม่ ได้ อีก ใช้เวลาห่างกันหลายปีอยู่ ถ้าย้อนไปเรื่องร่างกาย เราก็ได้ยินเสียงก่อนจะเห็นภาพตั้งแต่เราอยู่ในท้องแม่แล้ว เลยมีความคิดสมัยนิยมเรื่องเปิดเพลงคลาสสิคให้ลูกฟัง แต่ผมเคยพูดเรื่องเพลงคลาสสิคแล้วว่า ดนตรีทางเอเชียเรา ออกไปทางธาตุไม้ ทั้งวัสดุที่ใช้ ท่วงทำนองลีลา แต่ของฝรั่งเขาออกไปทางธาตุทอง ถ้าอยากให้ลูกเราเป็นเด็กจิตใจงาม ควรให้ฟังเพลงทางเอเชีย มากกว่าเพลงทางฝั่งยุโรป ที่คนแต่งก็เป็นคนวัยกลางคน แต่งให้คนวัยกลางคนหรือผู้ใหญ่ฟังกันครับ เขาฟังกันในโรงละคร เพลงพวกนี้ไม่ใช่เพลงกล่อมเด็ก หาควรเอามาเปิดจ่อให้ลูกฟังไม่ รังแต่จะเป็นผลเสียทำให้เขาแก่เกินไว เพราะทอง ตรงข้ามกับไม้ ไม้คือค่อยๆโต นุ่มนวล เติบโตผสานกับธรรมชาติ แต่ทองคือ ปรับปรุง เปลี่ยนฉับไว แน่ชัด และโตไวมาก แก่แดดนั้นหละว่าง่ายๆ และแก่แดดก็เลยดูเหมือน ฉลาดใช่ไหม ใช่แน่นอนครับ ถ้าพูดกันตามปรัชญาจีน ทอง ย่อม หนุนน้ำ น้ำ ผมไม่เคยแปลว่า ปัญญา ผมค้านมาตลอดว่า น้ำ หรือ ธาตุน้ำ หรือคำว่า 智 จากลัทธิหยู ขงจื้อ นี่ แปลได้มากสุดคือ ความฉลาดอย่างยิ่ง แค่นั้น ไม่ใช่ตัว ปัญญา แต่ประการใดเลย ปัญญาเหนือกว่านั้น ผมเคยแปลสั้นๆให้คนที่มาฟังบรรยายฟังว่า ปัญญา แปลว่า แก้ปัญหาได้ สิ่งใดรู้เฉยๆแต่แก้ปัญหาอะไรให้ชีวิตไม่ได้เลย ไม่เรียกว่า ปัญญา เพราะมีปัญญา ชีวิตจะมีทางแก้ มีทางเดิน มีเป้าหมาย และไปต่อได้ ต่างกับความฉลาด ที่คนที่ฉลาดหลายคน เอาตัวไม่รอด ยากจน เข้ากับใครไม่ได้ มีปัญหากับการอยู่ร่วมกับคน ไปจนถึงตัดตัวเองออกจากโลกด้วยการ ฆ่าตัวตาย มากมาย ครับ คนฉลาดก่อคดีที่ยากจะสืบได้ แต่คนมีปัญญาจะไม่สร้างคดีหรือความทุกข์ใจให้คนอื่น เพราะ ปัญญาจะมีได้ ต้องมีศีล มีสมาธิ คอยชำระ คอยเติมเต็มกันไปมา ให้เจริญขึ้น พร้อมๆกัน คำสอนขงจื้อ เป็นความฉลาดอย่างยิ่ง เพราะเป็นความรู้ที่ช่วยแก้ปัญหาทางโลกได้ แต่ในทางโลกุตระ ยังแก้ไม่ได้ จึ่งไม่อาจกล่าวเรียกได้ว่าเป็น ปัญญา บางท่านด้วยความไม่เข้าใจภาษาบาลี ก็ไปเขียนเติมว่า ปัญญาญาณ ก็ ปัญญา นั้นเองนี้ คำนี้ ก็มีคำว่า ญาณ อยู่ในนั้นแล้ว แต่เป็นญาณแบบพิเศษจำพวกนึง แค่นั้นเอง
ทอง หนุน น้ำ ฟังดนตรี ฝรั่ง เลยฉลาด โตไว หัวคิดไปไว เหมือนจะเรียนรู้ไว มันไปตรงกับสำนวนจีนโบราณที่สอนลูกหลานว่า ป๋า เหมียว จู้ จ่าง 拔苗助長 คือชาวนาอยากให้ต้นกล้าโตออกรวงไวๆ แทนที่จะรอตามฤดูกาล ดูแลนาตัวเองตามปกติ เปล่าเลย เขามีความคิดแปลกๆคือ ไปดึงเอาต้นกล้านั้นขึ้นทีละนิด แบบไม่ได้ดึงพรวดทีเดียวให้พ้นจากดินนะครับ ดึงนิดเดียว ให้เหมือนดูว่า ต้นโตสูงขึ้นมานิดๆละ ทำแบบนี้ทุกวัน ทุกวัน สุดท้าย เมื่อรากไม่สามารถทำงานได้ ต้นข้าวก็ตาย คือ การไปเร่งโต เกินวัยอันควรนั้นเอง เร่งให้ทันกับวิทยาการและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ลืมไปว่า คนเรามีชีวิตอย่างเดียวก็หาไม่ เรามีจิตใจที่ต้องหล่อเลี้ยงด้วย ดนตรีฝั่งเอเชียส่วนมาก เช่น จีน อินเดีย ไทย พม่า ลาว เขมร ชวา เปอร์เซีย เหล่านี้ล้วนออกมาทาง ธรรมชาติ ธาตุไม้ เสียงดนตรีไม่กระชากสูงต่ำรุนแรงฉับพลันมาก ฟังแล้วเนิบๆ เย็นๆ จะโศก หรือ เกรี้ยว ก็เกรี้ยวแบบ เกลียวคลื่นในทะเลคลั่ง ยังไม่รุนแรงเท่า เกรี้ยวแบบไฟไหม้โลก อุกาบาต ภูเขาไฟระเบิด บึ้ม บั้ม ส่งผลคือ การเจริญสติ เจริญปัญญาได้ง่าย คลื่นความสงบเกือบเท่าเสียงสวดสาธยายมนต์ ประเด็นนี้เช่นกัน เสียงเมื่อหลากหลายกว่าภาพ ก็เพี้ยนง่ายกว่าภาพ การเขียนอักขระภาษาโดยใช้เสียง หรืออ่านออกเสียง ก็เพราะทุกภาษาย่อมต้องอ่านออกเสียงเพื่อสื่อสาร เพราะมนุษย์ พูดคุยกันด้วย อ่านด้วย เขียนด้วย ฟังด้วย ก็ย่อมจะอ่านได้ผิดแผกไปจากกันหลายสำเนียงทั้งๆที่อาจเขียนเหมือนกัน และบางคำ หรือบางเสียงที่คุณใช้สื่อสารกัน ก็ไม่สามารถเขียนเป็นตัวหนังสือได้ นี้เป็นจุดเด่นของ การจดบันทึกด้วยอักษรเสียง แบบภาษามคธ หรือ พระบาลี หรือไทยเราก็รับอิทธิพลนี้มา คือ การผสมพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ มาเพื่ออ่านออกเสียง เราไม่ได้เป็นอักษรภาพแบบอียิปต์หรือจีน พิสูจน์ง่ายๆคือ บทสวดมนต์ทางพระพุทธศาสนาทางเถรวาทจะสามารถสวดเสียงได้ใกล้เคียงกันทั้ง พม่า ไทย อินเดีย ศรีลังกา ต่างกันแต่บ้างก็ ท่วงทำนองและสำเนียง แต่ถ้าเปลี่ยนไปทาง จีน มหายานไปเลย จะแตกต่างกันไปด้วยการใช้อักษรในการทับศัพท์ออกเสียงก็ดี หรือไม่ก็ แปลพระสูตรจากพระบาลี ทับลงไปด้วยภาษาจีนเลยก็ดี
ข้อเด่นของอักษรรูปภาพ ตามปรัชญาจีนถือว่า ออกมาทางธาตุไฟ คือ สัมผัสทางใจได้ไว เห็นภาพละจำได้ไว และก็ลืมไว เหมือนเราไปเที่ยว สักพักก็ลืม ภาพในอดีตตอนแม่ป้อนข้าวเรา ป้อนนมเรา เราก็ลางๆเลือนๆ แต่สิ่งที่เราจำได้คือ คำพูดแม่ เพลงกล่อมของแม่ ของย่า มากกว่า เพราะเราจำเสียงได้ ตราตรึง ติดแน่นกว่า เพราะเสียง ปรัชญาจีนให้คุณค่าออกมาทาง ธาตุน้ำ
ดนตรีฝรั่ง เลยเป็น ธาตุน้ำผสมทอง เกิดเหตุแบบที่ได้ชี้แจงมาข้างต้น ส่วนดนตรีฝั่งเอเชีย เป็น ธาตุน้ำผสมไม้ สอดผสานกันกลมเกลียวดี และที่สำคัญ ธาตุที่ผมกำลังพูดในบรรทัดนี้ ไม่ใช่ธาตุที่สามารถจับได้ ถือเอาได้ เสียเมื่อไหร่ อาจารย์บางท่านเลยเรียกว่า ธาตุเทียม เพราะเหมือนจะจับต้องไม่ได้ มองไม่ค่อยเห็น แต่ก็รับรู้ได้
คำแนะนำผมคือ แบ่งเวลาให้ลูก และตัวคุณเองครับ เมื่อต้องการกล่อมเกลาใจ หรือเค้ายังเด็ก ให้เค้าได้รับสิ่งที่เป็น ธาตุไม้ ธาตุไฟ เยอะหน่อยเช่น เสียงดนตรีไทย ดนตรีเอเชีย ที่ยกตัวอย่างไป ดนตรีจีนก็ด้วย ศิลปะวาดเขียนก็ด้วย โตมาหน่อย อาจให้ฟัง หรือรับรู้ทางธาตุทองได้บ้าง เช่น ดนตรีสากล กีฬา หรือเทคโนโลยีตามแต่ถนัด ถ้ายังไม่ถึงห้าหกขวบ อย่าเลยครับ อย่าเลยที่จะไปเอา คอมพิวเตอร์ มือถือ แสงรังสี ย้ำ ไม่ใช่แสงสีนะ แสงรังสี จริงๆแสงก็เป็นรังสืแบบนึงหละ แต่เราไปพูดแสงสี ฟังดูสวย ผมพูดว่า แสงรังสี จะได้สะอึกมีสติเห็นโทษมันบ้างว่า จอประสาทตา ที่กำลังไม่แข็งแรงมาก โดนรังสีพวกนี้สาด ก็เสื่อมไว สมัยก่อนจำกันได้ไหม ไปนั่งใกล้โทรทัศน์ ห่างแค่ศอก หรือ สองศอก จะโดนพ่อแม่เอ็ดว่า อย่าไปดูโทรทัศน์ใกล้ สายตาจะเสีย ของพวกนี้ถ้ามีแสง ก็มี ฟลักแม่เหล็กไฟฟ้าตามมาด้วยครับ มันบั่นทอนอวัยวะเราทั้งหมดแน่ๆหละ ถ้าพูดตามปรัชญาจีนคือ ทอง ย่อม บาด ไม้ ทำให้ไม้บาดเจ็บ เผอิญว่า เป็น ทองเทียม เลยเลือดไม่ไหล เลยค่อยๆเสื่อมอย่างไว ไม่เสื่อมแบบ บอดทันที ละสมัยนี้ คุณให้ลูกเล่นมือถือ แทบเลต สิ่งพวกนี้ห่างจากดวงตาน้อยๆของเขา ถึงศอกไหมครับ มีเด็กคนไหนยื่นมือไปสุดแขนแล้วกดมือถือ รึ
แค่นี้ก็ทำนายได้เลย อนาคต คนป่วยโรคปอดจะเยอะ เพราะอากาศเสีย คนป่วยโรคมะเร็งหัวใจจะเยอะ เพราะสารพิษเยอะ และพักผ่อนน้อย คนป่วยโรคตา จะเยอะ เพราะตาไม่แข็งแรงมาตั้งแต่เด็ก
ปรัชญาจีนเราถือว่า วัยเยาว์ เป็นวัยที่เสริมสร้างพื้นฐานความแข็งแรง ของคนเราไปชั่วชีวิต ย้ำว่า ชั่วชีวิต คือถ้าไม่ดูแลช่วงนี้ให้ดี ต่อให้คุณทำงานมีเงินเดือนละ จะกลับมายัดอาหารเสริม สารพัดสารวิเศษใส่ร่างกาย ไม่ทันแล้วครับ รถด่วนขบวนสุดท้าย จากคุณไปตอนก่อนอายุ 16 ปีโดยประมาณ เป็นอย่างช้าสุดแล้ว ไวสุดที่รถขบวนสำคัญจากไปคือ 10 ขวบ
ใจเย็นๆครับคุณผู้ปกครอง ไม่ต้องไปเร่งให้ลูกสอบได้ที่หนึ่ง เก่งภาษาพูดปร๋อ หรือเก่งคอมพ์ เก่งมือถือ แต่เด็กๆเล็กๆหรอกครับ เสริมธรรมะ ศีลธรรม ศิลปะ ให้ชีวิตเค้าช่วงวัยเด็กเยอะๆ คุณพูดเสมอไม่ใช่หรือว่าต้องการคนดี ลูกดี มากกว่าลูกเก่ง คือขอให้ลูกเรามีชีวิตที่ดีนะ ก็แปลว่า ขอให้ลูกเราเป็นคนดีก่อนนั้นหละ ละคุณลองหันกลับมามองว่า เวลาแต่ละวัน ที่คุณใช้เพื่อเติมแบตเตอรี่แห่งความดีให้เขา มันน้อยหรือมาก กว่า แบตเตอรี่แห่งความรู้ เรียนพิเศษ และเทคโนโลยี ถ้าอีกฝั่งมันมาก จะต้องมาประท้วงทำไมว่า อีกฝั่งทำไมเสื่อม ก็เพราะคนเรา มีเวลาวันนึงเท่ากัน 12 ชั่วยาม คุณไปยัดอันนึงใส่มาก ก็ไปกินเวลาที่จะไปเสริมอีกฝั่งนึงเป็นธรรมดา และยิ่งวัยเด็ก ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องไปก้าวทันเทคโนโลยี ใช้แค่ติดต่อสื่อสารแบบพอควร เช่น ติดต่อนัดหมายการนัดกลับบ้าน รับลูกจากโรงเรียนมาบ้าน หรือกลัวพลัดหลงกัน ใช้เป็นครั้งคราว พอแล้วครับ
โลกเราอนาคตจะมีหุ่นยนต์ มาแทนแรงงานคนมากพอแล้ว จะฉลาดกว่าคนด้วยซ้ำ คุณคิดคำนวนทันหุ่นยนต์รึไง
อย่าผลิต หุ่นนต์ที่มีหัวใจเลี้ยงด้วยเลือดเนื้อ เพิ่มอีกเลย ผลิตชีวิตที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมเถิด
ล่าสุดเมื่อเย็นวาน ผมตกใจมาก ปัญญาชนระดับอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นระดับ ดร. และท่านปฏิบัติธรรมบ้างด้วย ท่านกล่าวว่า ก็ออกไปสังคมภายนอกมันวุ่นวาย ฉันขออยู่คนเดียวกับแฟนในคอนโด ดีกว่า นี่หละ สันโดษ
ผมตอบว่า ผิดแล้ว ธรรมะ ไม่ใช่สันโดษแบบนี้ แบบนี้เรียก สันโดดโดด สันอยู่คนเดียว สันโดษจริงๆคือ พอใจในสิ่งที่ตนมีไม่ไปทำอะไรตามกิเลส อยากๆตามกิเลส ไม่ได้แปลว่า เลิกยุ่งกับใคร พระพุทธศาสนาเราไม่ได้สอนให้คนเลิกช่วยเหลือกัน ถ้าแบบนี้ การเจริญ เมตตา กรุณา มุฑิตา ก็ย่อมไม่เกิด ไม่มีทั้งนั้น เพราะอยู่แบบโดดๆ แบบเดี่ยวๆ ชั้นไม่พึ่งใคร ใครก็ไม่ต้องมายุ่งกับชั้น
“แต่ก็คุยกันและสนทนาธรรมกันบ้าง ทำบุญทางออนไลน์ตลอดนะค่ะ”
บุญ กุศล ธรรม อันแห้งแล้ง คือไม่ได้เกิดความซาบซึ้งใจมากมายหรอก และคนเดือดร้อนทุกข์ยากอีกมากที่แม้แต่จะเข้าอินเตอร์เนตไม่ได้เพราะเค้าไม่มีเงินซื้อมือถือ ที่ขอทานอยู่ไม่ไกลจากบ้านคุณเกินรัศมีห้ากิโลนี้เล่า จะไม่ช่วยเขาเลยรึ แม่บ้าน ยาม คนกวาดถนน เค้าสบายดีมีงานทำ เราไม่ต้องช่วยอะไรแล้วรึ นี้คือ บุญแห้งแล้ง คือ คิดแบบแห้งๆว่า ขอข้าพเจ้าอยู่ได้ สบาย ครอบครัวดี พอละ ดีกว่านั้นหน่อยก็ช่วยคนบ้างตามโอกาส แต่หัวใจที่นอบน้อม สละ มันหายไป มันไม่ได้รับการ ส่อง มอง ขัด ฝึก ให้เป็นคนนอบน้อม จิตใจอยากช่วยคนทุกข์ยาก เมตตา กรุณาคนเดือดร้อน เมื่อเป็นแบบนี้ ความถือตัวถือตนก็ยังมีอยู่ ต่อให้มีความสุข ด้วยกำลังสติปัญญา กำลังทรัพย์ที่มี ก็ยังคงต้องทุกข์ใจ เพราะไม่เคยเห็นความว่าง หรือ ความสงบทางใจ เนื่องจาก ยังมีคำว่า ตัวกู ของกู ลึกๆภายในใจ ใจไม่ได้สละออกไปที่ช่วยใครเลย ใจมันอยู่กับหน้าจอ โอนเงินทำบุญเสียก็ได้บุญละ ก็สาธุ ก็กดไลค์ ก็จบไป จบไปเป็นวันๆ ไม่ได้เจริญจิตอันเป็นกุศลที่จะเมตตา เมื่อยังมีความถือตัวถือตน ศีลไม่มีทางจะบริสุทธิ์ได้ เพราะเราจะไม่มีปัญญาพอที่จะส่องเห็นข้อบกพร่อง เนื่องจากกำลังสติ ของเรามันจะน้อย หรือต่อให้ลึกกว่าคนอื่นก็ ลึกในระดับผิวๆ ไม่ได้มองเห็นความจริงว่า โอ้หนอ จิตใจเรานี้ เป็นบุญหยาบ บุญออนไลน์ ไม่ได้ทำความนอบน้อมอะไรเลย สละเสียแต่แรงทรัพย์อย่างเดียว
ขอฝากพุทธพจน์สุดท้ายไว้ให้เป็นสติปัญญาเตือนใจว่า
จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ
จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.
พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ,
เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ,
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.
คือ ให้สละทรัพย์ เพื่อแลกกับการไม่ต้องเสีย อวัยวะ เงินทองเท่าไหร่อย่าไปเสียดาย แบบที่เราๆท่านๆทำกันไง ป่วยที ผ่าตัดที ทุ่มกันสุดตัว เป็นหนี้ก็ยอม อะละต่อมา พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ก็ยอมตัด ยอมปาด ไส้บ้าง ตับบ้าง ไตบ้าง ตัดขาบ้าง แขนบ้าง เพื่อให้มีชีวิตรอด พึงสละแม้นทุกอย่าง เพื่อธรรมะ คือสละยิ่งกว่าสละชีพ ยิ่งกว่ายอมตาย คือ อย่าไปยอมตายแบบเปล่าประโยชน์ แต่ให้มุ่งมั่นใฝ่ดี ทำความดี แม้นว่าทุกอย่างจะต้องสละลงไปหมด เพราะแน่นอน ธรรมะ คือ การสละ สิ้นเสียซึ่ง ตัณหา ก็ต้องฝึกสละ
คนสมัยนี้ ทำบุญแห้งแล้ง สนทนาธรรมแห้งแล้ง ฝึกฝนแต่การได้มา ได้ทำบุญ ได้ฟังธรรม ได้สนทนาธรรม ได้มีกัลยาณมิตรที่ไม่เคยเจอหน้ากัน เรียกร้องว่า คุณมันพวกไม่จริงใจ ไม่ยอมเอารูปขึ้น ผมถามเถิด มาเจอผมตัวเป็นๆนี่ มันไม่เรียกว่าจริงใจกว่า ลำพังเอารูปหล่อๆสวยๆขึ้นหรือครับ และผมพูดมาตลอดว่า ผมพร้อมเจอทุกคน ผมนัด ก็มาเจอสิ ผมไม่เคยรังเกียดว่า จะพบเฉพาะคนมีเงินมาก คนมียศมาก
คุณสละแค่ ทรัพย์ เฉยๆ เป็นการสละสิ่งที่คุณไม่ได้เดือดร้อน อาทรร้อนใจ มากมายนัก แต่บางคนก็ทำด้วยความไม่ฉลาด สละทรัพย์ทำบุญจนเดือดร้อน หรือสละมาหน่อยก็เดือดร้อนจะต้องหาเงินหากำไรมาทำบุญ ก็ทำไมต้องไปทำบุญต่อที่สองครับ บุญต่อหน้าต่อตาทำไมไม่ทำ คิดทำโรงแรมเอาเงินมาสร้างวิหาร เอ้า คนจน คนพิการ คนแก่ ไม่มีบ้านดีๆอยู่ ไปสร้างให้เค้ามีศาลา มีเรือนนอนไม่ดีรึ คิดทำร้านขายของเพื่อเอากำไรมาทำบุญ เอ้า งั้นคุณแจกของที่คิดจะขายเสียไม่ดีรึ เห็นไหม ถ้าเจอของจริง คำจริง คุณเริ่มชักกระตุก เห็นเงาดำตะคุ่มๆในใจว่า อ้อ จริงๆแล้ว เหมือนฉันเสียสละเงินเพื่อหาทุนทำบุญ เปล่าเลย ฉันยังอยากมีกำไรเพื่อเอามาประดับประดาตัวเองด้วยส่วนนึง ไม่ได้หวังแค่ทำบุญ เพราะฉันยังสละอะไรไม่ได้ สละรายได้ไม่ลง สละแฟนไม่ลง สละลูกไม่ได้ สละหน้าที่การค้า ธุรกิจไม่ได้ เมื่อสละไม่ได้ ก็สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีใจบ้าง อิ่มบุญบ้าง ทุกข์ใจบ้าง เครียดบ้าง เป็นปกติ เพราะคุณมองเป็น ทำเป็นแต่ความมี ความเป็น ความเกิด ไม่มีก็ทำให้มันมี ไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น ไม่เกิดก็ทำให้เกิดเรื่องจนได้
อันตรายใหญ่หลวงนะ บุญอันแห้งแล้ง หรือ หาทุนมาเพื่อทำบุญ มันไปเติมเอาฝั่ง โลภะ ละไม่ได้สละอะไรเลย จาคะ จะลดวูปๆ อย่างไม่รู้ตัว พิสูจน์จากอะไร
ให้เงินขอทานห้าร้อย โหย ต้องมาสืบสาแหรกเขาว่า เธอสุจริตแค่ไหน มาจากไหน เอาเงินฉันไปทำอะไร
หย่อนห้าร้อยบาทลงตู้ สาาาาาา ทู้ ขอพร จบ หายกัน ยิ้มกริ่ม สบายใจ ทำไมไม่ไปเช็คไปถามพระ ท่านเจ้าขา เงินอิชั้น ทำบุญไปห้าร้อย ท่านจะเอาไปทำอะไร ละท่านช่วยเทศน์สอนอิชั้นบ้างได้ไหม เอาเรื่องอื่นที่ไม่ใช่แค่ ทำบุญ ทำทาน ทำบุญ ทำทาน ให้ได้สติ ปัญญา แก้ปัญหาชีวิตได้ ทีแบบนี้ทำไมไม่ทวง
จำไว้ เพิ่มบุญยังไม่พอ ยังต้องเพิ่มความสละ คือ จาคะ ด้วย เพราะอะไร
เพราะ อริยทรัพย์ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมีทั้งหมด เจ็ด ไอเท็ม ให้ต้องสะสมกัน คือ
1. ศรัทธา
2. ศีล
3. หิริ
4. โอตตัปปะ
5. พาหุสัจจะ
6. จาคะ
7. ปัญญา
อริยทรัพย์ คือ ทรัพย์ของพระอริยะ หรือ ทรัพย์ของผู้ประเสริฐ ผู้ไกลทุกข์ไกลกิเลส คือ สะสมแบบนี้แล้วไม่ต้องมาสุขๆ ทุกข์ๆ แต่สะสมแต่เงินๆ ทำบุญด้วยเงิน สร้างๆกันหน้ามืด อันนั้นก็เตรียมตัว สุขบ้าง ทุกขฺบ้าง ทำบุญกอดเสาวัด ทำบุญเป็นจิ้งจกติดหน้าบัน ทำบุญตีตราชื่อใส่เก้าอี้ ใส่โต๊ะวัด เอ้า จริงๆ ก็จิตมันผูกพันกับสิ่งของพวกนั้น ไปวัดทีไรก็ไปดูหน่อยสิ หน้าบันที่ชั้นเคยร่วมทำ เจดีย์ที่เคยร่วมก่อ ถ้าไม่มีตัวปัญญาไปพิจารณาด้วยสติ ก็จะไปยึดติดว่า อร้ายยยย วัดสกปรก ปล่อยหน้าบันชั้นมีนกมีอึราดใส่ ปล่อยเก้าอี้ที่ทำบุญนี่ขาหัก ต่อไป ชั้นจะไม่ทำบุญที่นี่แล้ว พอกันที
เอ๋า … ก็คุณเอาแต่จ่ายเงิน ไม่เคยมาดูความเป็นจริงของโลกไง ร้ายกว่านั้นคือพวกคิดว่า การทำบุญมีเฉพาะในเขตวัดหรือศาลเจ้า ถึงได้บุญมาก ผมถามสั้นๆกลับไปคิด นะครับ พระพุทธเจ้าเรา ท่านตรัสรู้ ประสูติ บำเพ็ญเพียรภาวนา และปรินิพพาน ในวัด ในกำแพงวัด ในศาลา ในโบสถ์ แบบนั้นรึ งั้นถ้าสมัยพุทธกาล คุณเล็งแต่จะทำบุญในเขตกำแพงวัด เอ้า พุทธกาลก็มีคนสร้างวัดถวายละนะ แปลว่าอะไรดีละ …
ไม่ใช่ที่ทำไม่ดี ก็ดี แต่วันนี้แนะนำสิ่งที่ดีกว่า
Comentários