top of page
รูปภาพนักเขียนหมอซินแส

ตำรา ปากว้า มีหลายแบบ บทความก็มีเยอะ ควรศึกษาแยกแยะ

ปากว้า ร่างกายคน

หลายครั้งแนะนำให้อ่านตำราเก่า ตำราโบราณ ในการศึกษาวิชาดวงจีน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับให้ความรู้พื้นฐานของตนที่มีแน่นเสียก่อน แล้วเวลาอ่านตำราใหม่ๆที่แต่งปัจจุบันสมัย จะได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมขึ้นมาได้ว่าพิจารณาแล้วมีความถูกต้องเหมาะสมมากน้อยเพียงไร พูดง่ายๆว่า ขอให้เรามีคลังความรู้ในตัวเองระดับนึงเสียก่อน จึงจะวิเคราะห์ได้ว่าข้อความหรือความรุ้ใหม่ๆที่ได้มานั้น น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งนี่เป็นคำถามสำคัญที่คนเรียน ดวงจีน หรือ ฮวงจุ้ย มักตั้งคำถามกันว่า ตำราที่มีในมือนั้น มีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร

ยกตัวอย่างเช่นตำราข้างล่างนี้ กล่าวถึง ปากว้า 八卦 เทียบกับร่างกายคน ซึ่งมีคำกล่าวว่า เหรินเซิงเสี่ยวอวี่โจ้ว แปลว่า อันว่าร่างกายคนนั้นก็คือจักรวาลที่ย่อส่วนลงมา ปวงปรัชญาจีนเชื่อว่า ปากว้า หรือ โป๊ยข่วย เป็นสัญลักษณ์บอกและแสดงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในธรรมชาติผ่านเครื่องหมายที่มีสืบต่อมาแต่ครั้งบรรพกาลในสมัยที่คนเรายังเขียนตัวหนังสือไม่เป็นเสียด้วยซ้ำ แต่ที่ผมกล่าวว่านี่เป็นตำราแต่งใหม่ เนื่องจาก ธาตุของแต่ละกว้ามีกำกับเอาไว้ ทั้งนี้การอธิบายข้างล่างนี้เป็นการอธิบายในเชิงให้เห็นความสำคัญของหน้าที่การทำงานของแต่ละชิ้นส่วนอวัยวะร่างกายตามแต่ละ กว้า โดยยกเพียงความหมายโดยนัย ความหมายใด ความหมายหนึ่งออกมากล่าวเท่านั้น เช่น กว้าเฉียน หมายถึง หัว กระดูก ปอด (ที่หมายถึงกระดูก และปอด เพราะเป็นโครงร่างค้ำจุนร่างกายคน คือ โครงกระดูก และเป็นโครงร่างคุ้มครองกายคน คือ ปอด และชี่ ซึ่งทั้งสองเป็นความหมายของ ธาตุทอง โดยที่เฉียน ในความหมายโดยนัย ห้าธาตุ ก็คือ ธาตุทอง) จริงๆตำรา ตี้หลี่เปี้ยนเจิ้ง ได้อธิบายเรื่องโฮ่วเทียนปากว้าและลักษณะประจำธาตุของแต่ละกว้าว่า มาจากดวงดาวบนท้องฟ้าทั้งหมด ห้าดวง ได้ทั้งหมด ห้าธาตุ มาประกอบกันตามความหมายของ ปากว้า บนฟ้ามีห้าดวงดาว บนดินมีห้าขุนเขา ห้าแม่น้ำ สรรพสิ่งบนโลกประกอบมีปากว้า ตุ้ย ปาก ลิ้น หลี นัยตา หัวใจ ซ่างเจียว เจิ้น เท้า ตับ ผม ซวิ่น มือ ชี่ ขั่น หู เลือด ไต เกิ้น จมูก นิ้วชี้ หลัง คุน ท้อง พุง ความหมายตามลำดับก็มีดังนี้ แต่หากอยากศึกษาเพิ่มเติม ผมได้แปลความหมายเป็นตารางเอาไว้ แยกต่างหาก ลองหาอ่านได้จากเวปไซต์ครับ 八卦

人的身体上也有八卦图

一、乾为首。以人体来说,乾卦代表头,因为乾为天、为上、为君,乾代表尊贵,代表首领。 ปากว้า ที่ หนึ่ง เฉียน คือหัว คือเริมต้น คือจุดเริ่ม คือข้างบน คือเจ้าแห่งกาย (ศูนย์สั่งการ)แต่ก็มีข้อคิดว่า จริงๆแล้ว พุทธ และ แพทย์แผนจีนเห็นตรงกัน ให้หัวใจเป็น จวิน หรือ เจ้าแห่งกายทั้งปวง เพราะเป็นตัวสูบฉีดเลือด และในพระอภิธรรมกล่าวว่า จิตใจ อยู่ที่ หทยวัตถุ มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เป็นตัวควบคุมความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงก่อนส่งไปยังสมองอีกทีหนึ่ง พุทธศาสนาไม่ได้เชื่อว่าศูนย์กลางการควบคุมความคิดความรู้สึกของคนเราอยู่ที่หัว หากอยู่บริเวณใจ สมองเป็นแค่ที่ทำงานของจิตใจหรือตัวรับรู้เท่านั้น 人的头部位于最上方,头是人体最尊贵的部分,如首脑、首长、首领等词语都是受人体头部的启发而来的。所以乾卦代表人的头。 ส่วนหัวของคนถือเป็นส่วนบนสุดของร่างกาย หัวเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากของร่างกาย เพราะเป็นที่เก็บของสมอง ดังมีความหมายของคำว่า โส่ว มากมายที่สื่อถึงความหมายโดยนัยของสมอง หรือศูนย์การทำงานหลัก เช่น โสวหน่าว首脑、โสวจ่าง首长、โสวหลิ่ง首领  (แปลว่า หัวหน้า หรือผู้รับผิดชอบหลัก)

二、坤为腹。坤为肚子。肚子是装东西的。坤代表大地,它幅员辽阔,能够承载万物。 ปากว้า ที่ สอง คุน คุน หมายถึง พุง หรือ ท้อง ท้องเพื่อรองรับอาหารต่างๆที่เข้าสู่ร่างกาย ในที่นี้ ตามความหมายปากว้า คุน หมายถึง ผืนปฐพีอันกว้างใหญ่ เป็นตัวแทนความไพศาลอาณาเขตกว้างขวาง รองรับสรรพสิ่งไว้ 用人的腹来代表坤卦,是警示人们要有大地一样宽广的胸襟,要能够胸育万物,要能够容纳百川。 ท้องหรือพุงของคนเรา เลยเป็น กว้า คุน คือเปรียบเหมือนความไพศาลของปฐพี หรือธาตุดินที่คอยรองรับแปรสภาพส่ิงต่างๆ ให้ได้เจริญเติบโต และกักเก็บ เป็นพื้นเป็นฐานของสารอาหารต่างๆ เหมือนผืนดินที่รองรับสายน้ำ ทวีป แผ่นดินโลก

三、震为足。震为动,而足是走路的。阳爻主动,阴爻主静。震卦初爻为阳爻,二三爻为阴爻。 人们要用下边的脚走路走动。所以用脚来代表震卦的特性。 ปากว้า ที่ สาม เจิ้น หมายถึง เท้า เจิ้น คือการเคลื่อนไหว เท้าก็มีไว้เพื่อการเคลื่อนที่ของร่างกาย ในสัญลักษณ์ ปากว้า จะมีขีดที่แตกต่างกันเพื่อแทน ยินหยาง สองลักษณะ คือ ขีดเต็มแทนด้วยหยาง ขีดที่แหว่งตรงกลางแทนด้วยหยิน ในที่นี้ หยาง หมายถึงการเคลื่อนไหว หยิน หมายถึงการหยุดนิ่ง หนึ่ง กว้า เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วย ขีดดังกล่าวที่ว่ามาต่างๆลักษณะกัน มีทั้งหมด 8 แบบ เรียก ปากว้า และแต่ละแบบมี สามเส้น(ยิน-หยาง ไม่เหมือนกัน) เรียกแต่ละเส้นว่า เหยา โดยที่ เหยาแรกของ กว้า เจิ้น เป็นเส้นเต็มไม่มีแหว่งกลาง หรือ เรียกว่า หยางเหยา เหยาที่สองและสาม เป็นหยิน คนเราต้องใช้เท้าในการเคลื่อนที่เดินเหิน เลยให้ กว้า เจิ้น เป็นตัวแทนของ ขา หรือ เท้า ดังจะเห็นได้ว่า เป็นการมุ่งเน้นเค้นเอาแต่ละคุณลักษณะที่จะเอามาประกอบเสริมเข้ากับคำอธิบายออกมา ให้เห็นภาพ เพราะตรงนี้จู่ๆก็กล่าวเรืองเหยา ขึ้นมา ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้สองกว้าไม่ได้พูดถึงเหยาในกว้าแต่ประการใด

四、巽为股。股是大腿,自膝盖以上至大腿根部为“股”。大腿是人最有力的地方。巽为入,我们要进入一个高深的境界,进入某一个领域,就必须要投入大的精力,所以用股表示巽卦的德性。 ปากว้า  ที่ สี่ ซวิ่น ซวิ่นหมายถึง น่อง น่องและต้นขาเป็นจุดที่มีความแข็งแรงยืนหยัดจุดหนึ่งของร่างกายคนเรา ซวิ่น เป็นกว้ามีนัยหมายถึง การเข้าไป การเข้าสู่สังคมใหม่ๆ การยกระดับตนเอง การก้าวขึ้นไป ซึ่งเราต้องใช้ขาในการก้าว ก็เลยให้เป็นกว้า ซวิ่น

五、坎为耳。坎为水,水在人体内部代表肾脏,而肾脏开窍于耳,所以坎为耳。坎卦的中间一爻为阳爻,上下爻为阴爻,代表黑暗中的光亮,所以坎也代表聪明智慧之水。 我们常说“耳聪目明”一词,耳朵能听得清楚、听得明白,一个人肾水旺盛,就会耳聪目明。 ปากว้า ที่ ห้า ขั่น ขั่นหมายถึงสายน้ำ หรือ ธาตุน้ำ ธาตุน้ำในร่างกายคนเราหมายถึง ไต และ หู สองอวัยวะนี้มีความสัมพันธ์กัน จำกันง่ายๆว่า ลักษณะของ กว้า นี้ เหยา ตรงกลางเป็นหยาง ขนาบบนล่างเป็น หยิน เปรียบเหมือนแสงสว่างในที่มืด ดังนั้น กว้านี้จึงเปรียบได้กับ ความฉลาดของธาตุน้ำ

六、离为目离。代表太阳,能给世间带来一切光明,而人的眼睛能够洞察天地万物,所以用离卦代表人的眼睛 ปากว้า ที่ หก หลี หลี เป็นกว้าตัวแทนของ ดวงตา หรือ พระอาทิตย์ ที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลก เปรียบดั่งตาคนที่คอยฉายภาพสอดส่องตรวจตราสรรพสิ่ง (แต่ส่องไม่เห็นดวงตาตัวเอง) ดังนั้น หลี กว้านี้ เลยแทนด้วย ดวงตา

七、艮为手。艮代表手。从卦象上说,上爻为阳爻,下两爻为阴爻,它的形状如同一个人在用两只手做俯卧撑,所以艮卦代表手。 ปากว้า ที่ เจ็ด เกิ้น เกิ้น เป็นตัวแทนของ มือ จำง่ายๆว่า กว้านี้คล้ายลักษณะคนกำลังใช้แขนสองข้าง ดันพื้น เพราะด้านบนสุดเป็นหยางเหยา สองเหยาล่าง เป็น ยินเหยา

八、兑为口-兑卦在自然界代表湖海,为平地上的缺口。人最大的缺口就是嘴。 兑卦的特性为喜悦,而人在高兴地时候往往会夸夸其谈。所以用口来代表兑卦的德性。 ปากว้า ที่ แปด ตุ้ย ตุ้ยหมายถึง ปาก เพราะตุ้ยในความหมายปากว้า แทนด้วย ทะเลสาบ ห้วยหนอง เป็นแอ่งที่ลุ่มของที่ราบพื้นโลก ร่างกายคนมีจุดที่เว้า ที่ลุ่มลงไปที่สุดก็คือ ปาก นัยยะของกว้านี้แทนด้วย ความสุขเปรมปรีดิ์ เหมือนปากคนที่จะพูดมากเวลามีความสุข …

จากที่อ่านแล้วสรุปได้ว่า บทความนี้เป็นการยกตัวอย่างขึ้นมาเปรียบเปรยให้จำแต่ละ กว้า ได้ และเข้าใจบทบาทอย่างคร่าวๆ ไม่ใช่มุ่งหมายอธิบายขยายความความหมายของ กว้า นี่คือจุดสำคัญที่อยากมุ่งเน้นว่า เวลา อ่านหรือศึกษาตำรา ต้องตีความให้ออกว่า ตำรานั้นๆ หรือบทความนั้นๆ ผู้เขียนต้องการเขียนเพื่ออะไร และเพื่อให้ใครอ่านจะได้ไม่ไขว้เขวว่า ตำรานึงว่าซ้าย ตำรานึงว่า ขวา จะเชื่อใครดี ตำราจีนพื้นฐานจริงๆล้วนมีพื้นฐานเดียว แต่ผ่านกาลเวลาและการแต่งเติมมา บางทีก็เลยเหมือนกับว่าแย้งเยื้องกันไป หากเข้าใจหลักการจะเข้าใจว่า เป็นอันเดียวกัน ดุจตาบอดคลำช้าง ทั้งนี้ หากมีความรู้พื้นฐานเรื่อง ห้าธาตุ ก็สามารถนำ แต่ละกว้า ไปโยงกับความหมายแต่ละ ธาตุ ในห้าธาตุ แล้วโยงกับความหมายอวัยวะร่างกาย เส้นลมปราณ ตามแต่ละธาตุได้ต่อไป ทั้งนี้ นอกจากบทสรุปอวัยวะตามลักษณะความหมายของ กว้า แล้ว บางตำรายังมีแบ่ง กว้า เป็นแต่ละส่วนของร่างกาย ตามภาพที่ผมวาดเอาไว้

ซินแสหลัว

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ลูกตุ้มโมเมนตั้ม ช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังสือได้

จากคำถามที่มีผู้ถามมาว่า ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับ ลูกตุ้มโมเมนตั้ม นะคะ คือดิฉันไปได้ยินมาว่า สามารถช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังส...

เลขมงคลประจำยุคนี้

พูดตรงๆนะ ผมไม่ใช่คนเรียบร้อยผ้าพับไว้ ผมไปเห็นบางคนบางท่านผมก็ยังนึกดีใจ ชื่นชม และบางทีก็ละอายใจ ว่า เขาเรียบร้อย หรือ...

Comments


bottom of page