ปีชง หรือ ชง นี่มันเกี่ยวกับดวงดาวไหม ดาราศาสตร์ไหม และมันมาทำอะไรกับเราถึงต้องไปกลัวปีชง
“ประเด็นเรื่อง ชง” แค่ใช้การคำนวนดวงดาวมาแมชได้ว่าอ้อ อาจจะเพราะดาวโคจรมาแบบนี้ๆ เท่านี้เอง ซึ่งโหราศาสตร์ดวงดาวบางแขนงก็ให้คำตอบในวิชาโป๊ยหยี่สี่เถียวว่า ปีชง เกิดจากดาวทำมุมในแต่ละราศีต่างๆกันโดยยึดเอาตามดาวพฤหัสบดี แต่ไม่อาจอธิบายได้ว่า แล้ว วันชง เวลาชง เดือนชง และมิ่งกงชง มาได้อย่างไรเล่า ก็ในเมื่อดวงจีนไม่ได้มีแค่หลักปีแค่หลักเดียว ความจริงแล้วมันเกี่ยวกับในกายคนนี้ เรื่องมันเกิดที่ในกายในจิต ต่อให้บอกว่า กาย และ จักรวาล สัมพันธ์กัน ซึ่งจีนก็มีพูดว่า 人身小宇宙 แต่ จิตของจักรวาลมันบรรลุธรรมไม่ได้ เรื่องของ กายในกาย และ จิตใจจิต เวทนาในเวทนา และธรรมในธรรม ต้องดูที่กายตนใจตน คือ วิปัสสนา ไม่ใช่ไปมองท้องฟ้าที่ดวงดารา หรือเขียนคำนวนสารพันบนกระดาษตามสูตร ล้วนไม่ถูกต้อง
相衝得有對面
無對面哪裡可衝
您命生在地
何為然星衝
เรื่องของ คน ก็ต้องมองที่คน
ผมเคยพูดมาเป็นปีแล้วครับ ชง มันมีความหมายจริงๆอย่างไร อักษรคำว่า ชง เขียนแบบตัวเต็มสิ ละลองดูปริศนาความหมายที่บูรพาจารย์จีนซ่อนไว้ ผมอธิบายในเวปผมนานแล้ว ถ้าใครเคยอ่าน
ดวงดาว ตรวจจิตคนได้ไม่ลึก ท้องฟ้าก็ส่องร่างกายคนได้ไม่หมด เพราะคุณยังใช้ จักขุธาตุ เป็นปัจจัยหลักในการส่อง คือยังไปยึดเอา จักษุ มาประกอบควบ ทำให้ละวาง กาย ไม่ได้ ละวางสังขารของอาการสามสิบสองที่มากระทำร่วมกันไม่ได้อันประกอบด้วยเตโชธาตุ แลวาโยธาตุ เพราะเรื่องบางเรืองคุณต้องเข้ามาอยู่ในโหมด อากาศธาตุและวิญญาณธาตุเท่านั้น โดยไม่มีจตุธาตุดังกล่าวเหลืออีก (อรูปฌาณ) คุณถึงจะสามารถเข้าใจได้
ผมพูดมาเสมอ ก่อนยุคมีพุทธศาสนา คนจีนใช้ กว้า ใช้ ดาว เป็นเกณฑ์ สร้างวิชาสารพัด ทั้งโหรา ดารา และแพทยศาสตร์ ครั้นพอมีพุทธศาสนาเข้ามาเสียแล้ว
ทุกอย่างถูกแทนที่ด้วยระบบ ธาตุห้า ซึ่งผมแจกแจงให้ฟังกันหลายรอบแล้ว ว่ามันก็คือ ธาตุสี่นี้แหละแต่ในมุมมองที่ประกอบด้วยตัวพิเศษอีกตัวขึ้นมา ที่ไม่ใช่ ธาตุ คือไม่ใช่ 4 บวกพิเศษ 1 แล้วได้ 5 แต่มันคือ 4 ในบริบททีเข้าไปจับกับบางสิ่งที่คนจีนเรียกว่า 氣 ชี่ แล้วทำให้ต้องแสดงออกมา 5 แสดงแค่ 4 ไม่ได้ จะขัดกันเอา พอล้างบางระบบ ก็กลับสะท้อนย้อน เอานี่เป็นวิชาพื้นฐาน ขึ้นไปส่องดาว ส่องกว้า ใหม่อีกรอบ คือว่า เข้าไปส่องในกายในใจตน แล้วค่อยส่องออกมาภายนอก แล้วมาดูว่าภายนอกจุดสะท้อนอะไร ตกกระทบอะไรในกายบ้าง และแน่นอน มันกระทบได้ที่กายแน่นอน แต่ที่ใจนั้นอาจกระทบได้บ้าง แต่จริงๆแล้ว “มันไม่มีอะไร สามารถมากระทบใจได้หรอก” เมื่อกระทบไม่ได้ ราก หรือ ตัวเรา ก็ย่อมไม่กระเทือน เมื่อเราไม่กระเทือน ชงก็ไม่สาดอะไรจากดาวโดนกระทบเรา เหมือนเสียง ที่ทะลุกำแพง เหมือนแสงที่ทะลุกระจกใสไปได้
คุณยังยึดติดในกาย ในการเอาตาไปส่อง ไปมอง ไปสังเกต ยังยึดในสังขาร คือ การเอามาคิดคำนวน ก็แปลว่าติดในขันธ์ห้า ถ้าหลงติดในขันธ์ห้ากองทุกข์ ยังไงก็โดน ชง ครับ เพราะชงเล่นงานธาตุทั้งสี่ได้แน่ แค่คุณอาจเบี่ยงให้ไปลง ณ ธาตุ หรือ เหตุการณ์ที่คุณต้องการ แต่ถ้า แยกร่างขันธ์ห้าออกต่อหน้าต่อตาได้แล้ว ชง จะไปชงอะไรได้อีก ระวัง! เมื่อยังมีขันธ์ห้า ก็ยังอุปาทานอยู่นั้นแล ก็ยังมีอวิชชานั้นแล และการตีความอันใดที่ผ่านการยืนบน ขันธ์ห้ากระทำร่วม (สังขาร) แน่ใจหรือว่า คิดถูก มองถูก คำนวนถูก ก็เพราะยังยืนบนแพ แพอันตั้งอยู่บนกองความแปรปรวนที่ซัดส่ายไปมา แล้วส่องขึ้นฟ้าไปมอง หรือส่องหน้าจอละสมัยนี่นะ ส่องผ่านแอพ กับอีกอัน มองลงดูธาตุ ดูขันธ์ ดูอายตนะ ดูกายในกาย จิตในจิต เวทนาในเวทนา และธรรมในธรรม
ปุถุชนหลุดพ้นยาก แต่การไม่พยายามหลุดเลย ทำให้การหลุดพ้นยิ่งยากขึ้น และการพยายามบ้างย่อมสามารถมีโอกาสทำได้บ้าง แม้นไม่หลุดทั้งสามตัณหา ในโลภะ โทสะ โมหะ ครบสาม ก็หลุดออกไปบ้าง ก็สลายร่างให้โปร่ง คลายใจเบา มีจิตผ่องใส เมื่อโปร่ง ชง ก็ทะลุผ่านเราไป ดุจเสียงทะลุกำแพงได้ และชง ก็ลอดผ่านกายเราใจเราไป ดุจแสงก็ลอดผ่านแก้วกระจกใส
ทุกวันนี้มี่พยายามทำกันเยอะสุดคือ
เอามือปิดตา ติ้ต่างว่า ทำพิธีก็ดี แก้นั้นนี่ก็ดี ก็เหมือนเอามือปิดตาตน ไม่ขอเห็นชง แต่ชงก็ยังกระทำต่ออยู่
ดีมาหน่อยก็ หักเห ชง คือ เบี่ยงไป เลี่ยงไป ไปบอกว่าทำกรรมก็ค้องชดใช้ ถ้าทำตรงนี้เบา ก็จะไปหนักที่อื่น แต่หลงลืมว่า ตัวเลือกสุดท้าย
คือการจัดกายใจให้ใส สะอาด ให้สว่าง สงบ มันเป็นทางออดถาวร เมื่อไปคาดคั้นมั่นหมายแต่ทางออกจอมปลอม “การเกิดทุกคราว ก็ย่อมเป็นทุกข์ร่ำไป”
身是菩提樹,
心如明鏡台,
時時勤拂拭,
勿使惹塵埃。
菩提本無樹,
明鏡亦非台,
本來無一物,
何處惹塵埃?
ถ้าทำความเข้าใจ ความต่างของกลอนระหว่างของพระเสินซิ่ว 神秀 กับพระเถระ 慧能 ก็จะเข้าใจว่า วันนี้ผมพูดเรื่องอะไร แต่ถ้าบอกว่าไม่เข้าใจ จำวลีนี้ไว้
“ถ้ายังหักห้ามใจที่จะรักใครชอบใครไม่ได้
ก็ให้ฝึกกายฝึกใจให้รักใครชอบใครอย่างถูกต้อง
หากยังหักห้ามใจสิ้นความอยากมีรัก อยากรักไม่ได้
ก็ให้มุ่งหมายใจไว้ก่อนที่ จะดำเนินไปในทางเพื่อสักวัน จะสิ้นรัก สิ้นอยาก สิ้นความกำหนัด สิ้นราคะ ค่อยๆฝึกฝนไม่ต้องคาดคั้น พลาดบ้าง เสียบ้าง ผิดบ้าง จมติดบ่วงมันบ้าง สลัดมันหลุดบ้าง แล้วมาติดใหม่บ้าง เป็นเรื่อง ธรรมดา แต่ให้มีเป้าหมายที่การ สละ การสลัดคืน การละทิ้ง การปล่อยวาง ไม่ควรมีเป้าหมายที่ความหมายมั่น คาดคั้น ต้องมี ต้องเป็น ต้องได้ ตลอดไป
โลภะ (ราคะ) ก็ต้องจัดการแบบนี้ แต่ก่อนจะไปฝ่าด่านราคะ (ความรัก ความชอบ ความเจ้าชู้) ได้นั้น ซึ่งไม่ได้ง่าย การหลงติดใจในกาม ยังมีอยู่ในพระอริยบุคคลตะสิ้นไปก็ต่อเมื่อเป็นอรหันต์ แต่พระอนาคามี เป็นอริยบุคคลผู้สิ้นโทสะ แปลว่า จะฝ่าด่านไปละกาม ละราคะได้ ต้องฝ่าด่าน ละโทสะ ให้ผ่านก่อน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า แก้ โทสะ ด้วย เมตตาภาวนา ไม่ใช่ไปภาวนาว่า หายใจเข้า เมตตา หายใจออก เมตตา แต่ให้ทำความเมตตา คือ ความปรารถนาให้สัตว์อื่น ผู้อื่นมีความสุข ให้เกิด ให้มีขึ้นในใจบ่อยๆ
ใจคนมันบังคับไม่ได้ อย่าเรียกว่าการมีธรรม เป็นผู้อยู่ในธรรม หรือปฎิบัติวิปัสนา จะบังคับใจตนได้ เราแค่กำลังฝึก ข่มใจ คือถ้าสั่นไหว วอกแวกมาก ก็จับมาให้รวมๆกัน มาเป็น ณ ที่ใดที่หนึ่ง เพื่อให้ ตั้งมั่น เมื่อตั้งมั่นจะมีกำลัง และจะมีสติ รู้เท่าทัน ใจตน กิเลสที่มากระทบใจตนได้ แต่ไม่ได้แปลว่า ทำได้แล้วกิเลสจะโบกมือลาจาก และทำได้แล้ว จะไม่หลงไปติดข้องในกิเลสอีก กิเลสมาเสมอ แต่เราไม่ไปหลงยึดกิเลสว่าเป็นเราได้ ก็ด้วย การ”ฝึกใจ” ใจบังคับไม่ได้ แต่ใจคนเราฝึกได้ ฝึก ค่อยๆฝึก ค่อยๆลาก จูง วอกแวกอีก แล่นไปอีก ตะแล้ตแต้ดแต๋อีก ก็ลากมาอีก พุทธเจ้าเลยเปรียบ จิต หรือที่เราเรียกกันว่า ใจก็ดี หัวใจของชั้น ดวงใจของชั้นก็ดี ว่า เหมือนดั่ง วานร ที่บัณฑิตย่อมมันไว้กับ หลัก (ปักลงจุดใดจุดหนึ่งไม่คลอนแคลน) และเฆี่ยนถ้าหากตะกุยตะกายหรือโวยวายมาก หรือจะหาทางสลัดหลุดจากหลัก ก็ต้องดึงกลับมาเฆี่ยน เพราะลิงตัวนี้ กุมเอาเชือกที่มัดสัตว์อีกห้าตัว คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายเอาไว้ ถ้าคุมลิงได้ ตัวอื่นก็อยู่ในหลัก แต่ถ้าคุมลิงไม่ได้ หรือคุมได้แต่ตัวอื่นที่ไม่ใช่ลิง ก็คือไม่มีหลัก
การวางเป้าหมายไว้ที่ความ สละ
ก็คือ การมีหลัก มัดลิงเอาไว้
ลิงเพ่นพ่านแน่ ของที่เคยชอบ คนที่เคยใช่ อาการที่เคยปรี้ดแตก ลิงวิ่งไปหาแน่ ด้วยหลงว่า ลิงก็คือลิง คนก็ไปหลงว่าเป็นลิง หาได้ทำตัวเป็นเจ้าของมัดคอลิงไม่
เราจึงต้องฝึกสมาธิ คือ เจริญสติ ทำให้สติมีกำลังมากพอจะรู้ว่า “ไม่ใช่ลิง” ความคลั่ง ความเครียด ความโกรธ ความชอบ ความอยากได้ ความทำอะไรเพื่อสิ่งอะไรแบบบ้าๆบอๆ หรือความไม่ฉลาด ความหลง มันแค่มากระทบที่ใจ ที่ลิง แล้วลิงก็แล่นไป แล้วลิงก็ติดใจ ติดใจมากก็คิดว่า นี่คือ ลิง เช่น
ลิงต้องปัง ลิงต้องเริส ลิงต้องสวย ลิงต้องหุ่นดี มีกล้ามมีหน้าอก มีหน้าตาผิวพรรณงาม
ลิงต้องขึงขัง ลิงต้องไม่ยอมคน ลิงต้องกล้าได้กล้าเสีย (เพื่อแลกกันอะไรบางอย่าง) ลิงต้องกล้าลุย
ลิงกำลังเสียใจ ลิงกำลังโกรธ ลิงไม่ชอบคำนี้เลย ทำไมมาว่าลิงแบบนี้ ทำไมมามองลิงเช่นนี้ สารพัดจะลิง ก็ด้วยไม่มี สติ กำหนดรู้ทันว่า
มาาาาาาา นี่ เจ้าลิงจ๋อ ฉัน จะมัดเธอไว้ กลับมาซะ
ถ้าไม่มีวิปัสสนา ไม่มีสมาธิตั้งมั่น โปรเสสที่ผมแสดงไป แจกแจงไป คุณมองไม่เห็น จับไม่ทันหรอกครับ เพราะมันเกิดไวมาก ดับไวมาก และเกิดดับ เกิดดับ ตามหาต้น ค้นหาปลายไม่เจอหรอก จะเห็นแค่ ชั้นกำลังปลื้มเธอ เธอสวย ตูไม่ชอบมึน มึนว่าตู จะไม่มีทางเห็นว่า ที่ว่า ชั้น ว่า ตูเมื่อสักครู่นี้ เป็น ลิง
เราไม่ใช่ลิง
ลิงก็ไม่ใช่เรา
แต่คนไม่ฝึกสติ หรือต่อให้ฝึกแต่ยังไม่เต็มเปี่ยมก็ยังมีโมเม้นท์ไปสำคัญผิดว่า เราเป็นลิง ตัวนั้น นั้นเอง
ทำชีวิตให้มอง เห็นลิง จับได้ไล่ทันลิง
และมีความเมตตาต่อกายใจตน ไม่ไปเกลียดใจตัวเองว่า ผ่านโลกมาขนาดนี้ ฝึกมาขนาดนี้ ยังบ้าตัณหา ยังโกรธอีกทำไม ถ้าทราบว่า มันเบาบางลง ค่อยๆลดลง ไม่ได้เพิ่มจากเดิมที่เคย ก็แปลว่า ได้ผลแล้ว ทำมาดีแล้ว เช่นเดียวกัน ไม่ต้องไปเคียดแค้น คาดคั้น จะเอาบรรลุให้ได้ ไม่ได้จะตายซะ แบบคนบ้าทำ คือ พระสุปฏิบันโนท่านพูดประโยคนี่ด้วย กำลังของใจ กำลังสติที่เต็มเปี่ยม และด้วยความมีวิริยะสี่ เหมือนหลวงปู่ชาสอนว่า ไม่ดีก็ให้มันตาย ไม่ตายก็ให้มันดี ท่านไม่ได้กล่าวด้วยกำลังของการเอาความเครียด ความบังคับ หรือโทสะไปเค้นเอาให้ตายๆไปซะ แต่ให้มองด้วยใจเบาๆแบบมีปัญญา ไปเห็นทุกข์โทษแล้วมาฝึกใจตนเอง อย่างจริงจัง มุ่งมั่น เอาเป็นเอาตาย แต่ใคร อินทรีย์พละ วิริยะ สติ ปัญญา ยังไม่แน่วแน่ ก็ค่อยๆทำ แค่ขอให้มีเป้าหมาย หลุดบ้าง พลาดบ้าง ก็ให้อภัยตนเอง และเริ่มต้นใหม่ อย่าไป เกลียด อดีตตนเอง อย่าไปเกลียด เมื่อวานของตนเอง และอย่าไปวาดว่าอนาคตต้องอยู่ด้วยกันนาน รักกับตราบนาน อนาคตต้องดีกว่านี้แน่ๆ มันไม่มีอะไรแน่ มีแต่ปัจจุบันที่ทำได้แน่ๆ จะดีไม่ดี เลือกได้ ที่ปัจจุบัน
หวังว่าอนาคตต้องดีกว่าวันนี้ ก็เพ้อหลงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
คร่ำครวญอดีตที่เคยทำอะไรไม่ดีไว้ ก็อาวรในสิ่งที่ย้อนเวลากลับไปแก้ไม่ได้
ซินแสหลัว
จะหกโมงเช้า 4/1/2018
วันนี้ทำบุญ ตานข้าวใหม่
Commentaires