แม่นขนลุก เค้าว่าจะก่อนคนโบราณ สักเอาไว้ติดตัวเลยนะ ยามอุบากองนี่ เป็นยามที่ นายอุบากอง ทหารพม่าใช้วางเป็นฤกษ์แหกคุก และก็รอดด้วย
ที่ว่าแม่นเพราะ ลบกระทู้ตัวเองในกลุ่มโหรไทยเค้านะ ละมันบอกว่า วัน พฤ ได้ ศูนย์หนึ่ง อย่าพึงจร แม้นราญรอน จะอัปรา เราก็ไม่ราญรอนละนะ เราแค่ จรลี (กากบาท) ปรากฎ ว่า อัปราจริงด้วย
แต่อีกแง่หนึ่งก็สอนว่า ทำกรรมต้องได้รับผลกรรม ทำผิดกฎกลุ่มเค้าห้ามลบโพส ไอ้เราไปลบ ปั๊ป โดนเลย หน้าหลัว หน้าเหลอ ไม่มีเหลือ ฤกษ์ยามไม่ให้ช่วยให้พ้นกรรม
มาต่อเรื่องเดียวกัน คือการทำผิดกติกาที่วางไว้
ว่าด้วยเรื่อง แหกกฎ เล่ายาวหน่อย
มีนิทานเรื่องเล่าจีนมานานแล้ว อยากเล่าให้ฟัง เรื่องนี้ฟังมาจากหนัง กระบี่เย้ยยุทธจักร เมื่อกี้เอง เล่าว่า หลวงจีนรูปหนึ่งเจ้าอาวาสแสนเข้มขึงครัดศีล เดินทางไปต่างแดนกับพระลูกศิษย์ท่าน ระหว่างทางพบแม่นางคนหนึ่งนอนเปลือยกายอยู่ข้างพงหญ้า เพราะ โดนโจรชุดคร่าข่มขืน แถมยังถูกงูกัดลุกไปไหนไม่ได้ใกล้ตาย พระหนุ่มคิดจะไปอุ้มเพื่อช่วยชีวิต
หลวงจีนเจ้าอาวาสกล่าวเสียงแข็ง นี้เอ็งไปช่วยไม่ได้ แตะเนื้อต้องตัวสตรีเปลือยกาย เป็นกฎของวัด ทำให้ทุศีล ห้ามช่วย ปล่อยไป ปล่อยไว้แบบนั้นหละ
พระหนุ่มหันมามองแต่ไม่ฟังเสียง รี่เข้าไปอุ้มสตรีนางนั้นเพื่อหมายจะช่วยชีวิต เดินเข้าเมืองพาไปหาหมอ ชาวเมืองมองกัน จ้องกัน วิพากษ์กันต่างๆนานา
สุดท้ายพาไปหาหมอช่วยชีวิตทัน พระหนุ่มกลับมาหาเจ้าอาวาสผู้เป็นอาจารย์ ถูกอาจารย ติหนิใช้กฎสำนักขับไล่ออก พระหนุ่มกล่าวว่า อาจารย์ครับ สตรีนางนั้นผมวางตั้งแต่ก่อนอุ้มแล้ว อาจารย์ยังไม่วาง อีกเหรอ
เรื่องนี้เกิดจากที่่ ศิษย์สำนักชีถูกโจรปล้นสวาสที่แอบชอบตน แต่ตนไม่ได้ชอบ ลักพาตัวไปแก้ผ้านอนกับเล่งฮู้ชงพระเอกที่หอนางโลมเพื่อหมายจะให้เสียชื่อ ด้วยจารีตจีนศิษย์แม่ชีน้อยคนนี้ขอกระบี่จากอาจารย์ บอกว่า ทำผิดไปแล้ว ยินดีให้ลงทัณฑ์บัญชา จนสมอุรา จนสาแก่ใจ ข้าน้อยสมควรตาย ขอกระบี่อาจารย์เป็นมงคลปลิดชีวิตเถิด เพื่อรักษาหน้าตาของสำนักและกฎสำนักไว้
แม่ชีอาจารย์หน้าตาเศร้าสร้อยปนเครียด ว่าแล้วก็ ได้ จึ่งทิ้งกระบี่ลงพื้น ศืาย์หญิงโดนพลัน คว้ากระบี่จะเชือดคอตนเอง เล่งฮู้ชงโผเข้ามาเอามือปัดอย่างไว จากนั้น ไม่พูดพร่ำทำเพลง โผเข้าไปหอมแก้มกอดจูบแม่ชีเฒ่า แล้วบอกว่า
เอาสิ คราวนี้โดนข้าหอมแล้วแม่ชีเฒ่า ฆ่าตัวตายซะ รักษาหน้าตาและกฎสำนัก แม่ชี้หน้าแดงก่ำโมโหมาก แล้วเดินปรี่จากไปไม่พูดอะไรแต่ก่อนไป ตบหน้าเล่งฮู้ชงพระเอก หนึ่งฉาด เพี๊ยะ
สมัยพุทธกาลพระองค์หนึ่งบวชใหม่ บอกว่า ศีลพระพุทธเจ้าให้รักษาเยอะ อะไรมากมายก็ไม่รู้ จะสึกๆ จะออกจากหมู่สงฆ์ให้ได้ว่างั้นหละ แบบว่า ท้อแท้ ทำอะไรก็ผิดหมด โดนพระตำหนิหลายเรื่อง พุทธเจ้าเรียกมาไต่ถามแล้วบอกว่า รักษาใจได้ไหมหละ ถ้าได้ รักษาใจ ไว้ข้อเดียวพอ
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปหฏฺเฐน จิตฺเตน ดังนี้. ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว บวชถวายชีวิตในพระศาสนา คือพระรัตนตรัย. ครั้งนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์ของเธอ กล่าวสอนถึงศีลว่า ผู้มีอายุ ที่ชื่อว่าศีล อย่างเดียวก็มี สองอย่างก็มี สามอย่างก็มี สี่อย่างก็มี ห้าอย่างก็มี หกอย่างก็มี เจ็ดอย่างก็มี แปดอย่างก็มี เก้าอย่างก็มี ที่ชื่อว่าศีลมีมากอย่าง นี้เรียกว่า จุลศีล นี้เรียกว่า มัชฌิมศีล นี้เรียกว่า มหาศีล นี้เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล นี้เรียกว่า อินทริยสังวรศีล นี้เรียกว่า อาชีวปาริสุทธิศีล นี้เรียกว่า ปัจจยปฏิเสวนศีล. ภิกษุนั้นคิดว่า ขึ้นชื่อว่า ศีลนี้มีมากยิ่งนัก เราไม่อาจสมาทานประพฤติได้ถึงเพียงนี้ ก็บรรพชาของคนที่ไม่อาจบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ได้ จะมีประโยชน์อะไร. เราจักเป็นคฤหัสถ์ ทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เลี้ยงลูกเมีย ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็เรียนอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่อาจรักษาศีลได้ เมื่อไม่อาจรักษาศีลได้ การบรรพชาก็จะมีประโยชน์อะไร? กระผมจะขอลาสิกขา โปรดรับบาตรและจีวรของท่านไปเถิด. ลำดับนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์จึงบอกกะภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจงไปถวายบังคมพระทศพล ดังนี้แล้ว พาเธอไปยังธรรมสภาอันเป็นที่ประทับของพระศาสดา. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุผู้ไม่ปรารถนา (บรรพชาเพศ) มาหรือ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้บอกว่า เธอไม่อาจรักษาศีลได้ จึงมอบบาตรและจีวรคืน เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงพาเธอมา. พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุไร พวกเธอจึงได้บอกศีลแก่ภิกษุนี้มากนักเล่า ภิกษุนี้อาจรักษาได้เท่าใด ก็พึงรักษาเท่านั้นแหละ ตั้งแต่นี้ไป พวกเธออย่าได้พูดอะไรๆ กะภิกษุนี้เลย ตถาคตเท่านั้นจักรู้ ถึงการที่ควรทำ แล้วตรัสกะภิกษุนั้นว่า มาเถิดภิกษุ เธอจะต้องการศีลมากๆ ทำไมเล่า เธอจักไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล ๓ ประเภทเท่านั้นหรือ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า. มีพระพุทธดำรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่บัดนี้ เธอจงรักษาทวารทั้ง ๓ ไว้ คือกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยกาย อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยวาจา อย่ากระทำกรรมชั่วด้วยใจ ไปเถิด อย่าสึกเลย จงรักษาศีล ๓ ข้อ เหล่านี้เท่านั้นเถิด.
ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้ ภิกษุนั้นก็มีใจยินดี กราบทูลว่า ดีละ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักรักษาศีล ๓ เหล่านี้ไว้ ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ได้กลับไป พร้อมกับอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย. เมื่อเธอบำเพ็ญศีลทั้ง ๓ เหล่านั้นอยู่นั่นแล จึงได้สำนึกว่า ศีลที่อาจารย์และอุปัชฌาย์บอกแก่เรา ก็มีเท่านี้เอง แต่ท่านเหล่านั้นไม่อาจให้เราเข้าใจได้ เพราะท่านไม่ใช่พระพุทธเจ้า. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจัดศีลทั้งหมดนี้เข้าไว้ในทวาร ๓ เท่านั้น ให้เรารับเอาไว้ได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ทรงรู้ดี (และ) เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชาชั้นยอด พระองค์ทรงเป็นที่พำนักของเราแท้ๆ ดังนี้ แล้วเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล โดย ๒-๓ วันเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ประชุมกันในธรรมสภา ต่างนั่งสนทนาถึงพระพุทธคุณว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุนั้นกล่าวว่า ไม่อาจรักษาศีลทั้งหลายได้ กำลังจะสึก พระศาสดาทรงย่นย่อศีลทั้งหมดโดยส่วน ๓ ให้เธอรับไว้ได้ ให้บรรลุพระอรหัตผลได้ โอ ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยมนุษย์. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ครั้นพวกภิกษุกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภาระแม้ถึงจะหนักยิ่ง เราก็แบ่งโดยส่วนย่อยให้แล้ว เป็นดุจของเบาๆ แม้ในปางก่อน บัณฑิตทั้งหลายได้แท่งทองใหญ่ แม้ไม่อาจจะยกขึ้นได้ ก็แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ แล้วยกไปได้ ดังนี้แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :- ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี. พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นชาวนาอยู่ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง. วันหนึ่ง กำลังไถที่นาอยู่ในเขตบ้านร้างแห่งหนึ่ง. แต่ครั้งก่อนในบ้านหลังนั้น เคยมีเศรษฐีผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติผู้หนึ่ง ฝังแท่งทองใหญ่ขนาดโคนขา ยาวประมาณ ๔ ศอกไว้ แล้วก็ตายไป. ไถของพระโพธิสัตว์ไปเกี่ยวแท่งทองนั้น แล้วหยุดอยู่. พระโพธิสัตว์คิดว่า คงจะเป็นรากไม้ จึงคุ้ยฝุ่นดู เห็นแท่งทองนั้นแล้ว ก็กลบไว้ด้วยฝุ่น แล้วไถต่อไปทั้งวัน ครั้นดวงอาทิตย์อัสดงแล้ว จึงเก็บสัมภาระมีแอกและไถเป็นต้น ไว้ ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง คิดว่า จักแบกเอาแท่งทองไป ไม่สามารถจะยกขึ้นได้ เมื่อไม่สามารถจึงนั่งลง แบ่งทองออกเป็น ๔ ส่วน โดยคาดว่า จักเลี้ยงปากท้องเท่านี้ ฝังไว้เท่านี้ ลงทุนเท่านี้ ทำบุญให้ทานเป็นต้นเท่านี้. พอแบ่งอย่างนี้แล้ว แท่งทองนั้นก็ได้เป็นเหมือนของเบาๆ. พระโพธิสัตว์ยกเอาแท่งทองนั้นไปบ้าน แบ่งเป็น ๔ ส่วน กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาดังนี้ ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :- นรชนผู้ใด มีจิตร่าเริงแล้ว มีใจเบิกบานแล้ว บำเพ็ญธรรมเป็นกุศล เพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ นรชนนั้น พึงบรรลุความสิ้นสังโยชน์ทุกอย่างได้โดยลำดับ. ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหฏฺเฐน ได้แก่ปราศจากนิวรณ์. บทว่า ปหฏฺฐมนโส ความว่า เพราะเหตุที่มีจิตปราศจากนิวรณ์นั่นแล จึงชื่อว่ามีใจเบิกบานแล้ว เหมือนทองคำ คือเป็นผู้มีจิตรุ่งเรือง สว่างไสวแล้ว. พระบรมศาสดาทรงยังเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือพระอรหัต ด้วยประการดังนี้. แล้วทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า บุรุษผู้ได้แท่งทองในครั้งนั้น ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
เมตตาธรรมเลยค่ำจุนโลกครับ แต่ก่อนก็สงสัยว่าเพราะอะไร ทำไมไม่ใช้คำว่า ศีลธรรมค่ำจุนโลก ซึ่งนี่ตรงกับปรัชญาเต๋า บอกเรื่อง อู่ฉาง เรื่อง เหริ่น จัดเป็นธาตุไม้ เป็นตัวพื้นฐานแรกของมนุษย์ที่ควรมีให้กัน เหรื่น บางคนไปแปลว่าคุณธรรม แต่เล่าจื้อแปลว่า ความมีเมตตาธรรม นักอักษรบางท่านก็ไปแปลว่า มีเหรินจื้อผางกับเอ้อ ปรากฎคือหมายว่า คนสองคนที่หันหน้ามาเห็นใจกันและกัน ในกรณียเมตตสูตร พระพุทธเจ้าก็เน้นเรื่องเมตตาว่า ให้รักคนอื่น เสมือนว่า รักลูกที่เกิดในครรภ์ของตนเอง ผู้สมมติคิดว่าตัวเองนี้คือมารดา
มารดาถนอมบุตรที่เกิดในครรภ์ของตนฉันใด บุคคลพึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวงฉะนั้น คือ ไม่ว่าลูกจะดี จะชั่ว เกิดมาจะเลี้ยงแม่หรือทำร้ายแม่ แม่ต้องทุกข์ปานใด แม่ก็ยังยินดีเลี้ยงลูกในท้องให้ดีที่สุดเพื่อจะหวังให้ลูกได้ดี (แม้นจะไม่ดีกับแม่) ฉะนั้น
มีคนมาคอมเม้นทฺ์ต่อจากโพสว่า อ่านจากหนังสือ osho เล่าถึงตอนที่ ขงจื่อ ไปเจอ เหล่าซือ ครั้งแรก ว่าท่านบอกให้ลูกศิษย์ รอที่ตีนเขาจะเข้าไปคนเดียว พอไปถึงหน้าประตู ก็เคาะเรียก ท่านเหล่าซือ พอท่านเหล่าซือออกมา ก็ เคารพ แล้วบอกที่มาที่ไปตัวเอง และถามท่านเหล่าซือว่า คุณธรรมนั้นคืออะไร ท่านเหล่าซือ มองหน้าท่านขงจื่อ และหัวเราะพร้อมกล่าว “ท่านจะรู้จักคุณธรรมก็ต่อเมื่อท่านไร้คุณธรรม ที่นี่ไม่มีคุณธรรม อย่างที่ท่านตามหาหรอก กลับไปซะเถอะ” พร้อมกับปิดประตูใส่ ขงจื่อเลยมาบ่นกับลูกศิษย์ที่ตีนเขาว่าคนนี้แก่ และเลอะเลือนแล้ว อ่านนานแล้ว ครับ น่าจะจำตกๆหล่นๆ
ผมจึ่งได้วิสัชนาตอบกลับไปว่า เต้าเข่อเต้า เฟยฉางเต้า หมิงเข่อหมิง เฟยฉางหมิง ผมถึงบอกเสมอว่า เวลาอ่านหนังสือจีน ให้เน้นอ่านต้นฉบับครับ ในนิทานเรื่องนั้น คนสอนกล่าวว่า ท่านจะรู้จักคุณธรรมก็ต่อเมื่อไม่อาจพูดหรือบอกหรือร้องขอคุณธรรมออกมาได้ ที่นี่ไม่มีคุณธรรมที่สามารถเล่าเป็นคำพูดแบบที่ตามหาหรอก นี้คือ ปรัชญาเอกของ เต้าเต๋อจิง คัมภีร์สูงสุดของเต๋า เล่าจื้อเขียนกินใจคำแรกว่า คุณธรรมที่สามารถบรรยายเป็นคำพูดได้หมดจนจบกระบวน ไม่ใช่ คุณธรรมที่แท้จริง ไม่ได้แปลว่า คนร้องหาคุณธรรมไม่มีคุณธรรม นี้เป็นวิธีเช็คตำราโบราณง่ายๆ หรือ คำพูดพระศาสดาก็แล้วแต่ว่า ย่อมไม่หักล้างกันในตัวเอง หาไม่แล้ว คำสนทนาเรื่องคุณธรรมระหว่าง ขงจื้อ กับ ลูกศิษย์ คงไม่ถูกหยิบยกเป็นตำราใช้เรืยนที่นักเรียนจีนทุกคนต้องได้เรียนอย่างน้อยหนึ่งบท เรียก หลุนอวี่ ครับ เค้าก็ถามตอบกันเรื่อง คุณธรรม นี้หละ
มีคนถามอีกว่า คุณธรรมของเต๋านั้น สูงเหนือความดีความชั่ว ผมเลยวิสัชนาตอบไปอีกว่า
แล้วก็คิดว่า ถ้าพูดแบบประโยคแรก ต้องมีคนแบบท่านแจ๊ค งง แน่ๆ เล่าจื้อเลยต่อประโยคที่สองว่า 「無」名天地之始; 用「無」來描述「常道」在天地開始形成時,空無一物的原貌; 「有」名萬物之母。 用「有」來描述「常道」使天地豐盈萬有,而成為萬物之母的現況。 ที่ว่า ไม่มี หรือ ว่างเปล่าไม่แบ่งแยกนั้น จริงๆไม่ได้แปลว่าว่างเปล่า แต่หมายถึงสภาพเดิมแท้นั้นของฟ้าดินว่างเปล่า ที่ว่า มี นั้น คือจุดกำเนิดของสรรพสิ่ง และก็การ มี นั้นเป็นมารดาเป็นกำเนิดของสรรพสิ่งที่ปรากฎอยู่มาได้ 故常無,欲以觀其妙; 所以,把常道當作「無」來體會,藉以觀想常道如何無中生有的奧妙 (因); ที่กล่าวว่า คุณธรรม เป็นสภาพที่เหนือ สภาพที่ไร้ สภาพที่ว่างเปล่าออกมานั้น แท้จริงแล้วเพื่อจะสื่อว่า คุณธรรมนั้นเพราะไฉนจึ่งสามารถมีนัย มีคุณค่าภายในความว่างเปล่าได้ กล่าวคือ มีมูลเหตุในนั้น ไม่ใช่ว่าเปล่าแบบไม่มี หรือไม่ทำอะไรเลย 常有,欲以觀其徼。 把常道當作「有」來體會,藉以觀想常道表現在萬物間清楚分明的差異及其造成相互間的利害關係 (果)。 ที่กล่าวว่า ความมีความเป็นออกมา เพื่อจะแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดในการ แยกแยะ ความถูกผิดให้มีความชัดเจน และความปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสองสิ่งนี้ คล้ายๆกฎอิทัปจยตา หรือ โลกธรรม คือแสดงสองสิ่ง เสมอ เพราะอะไร ประโยคท้ายตอบว่า 此兩者同出而異名,同謂之玄。 「有」和「無」兩個都同樣用來稱呼「常道」,卻是這樣極端不同的兩個名字,兩者都同樣可稱得上是玄奧。 玄之又玄,衆妙之門。 這種玄奧又再玄奧的作用,正是常道妙化萬物的門徑。 ความมีความเป็น และความไร้ หรือความว่าง สองคำนี้นำมาเพื่อแสดง ฉางเต้า (จากประโยค เต้าเข่อเต้าเฟยฉางเต้า ว่า) ฉางเต้า ที่มีคำว่า ฉาง ซึ่งแปลดาษๆ แปลว่า ยาวนานได้ แต่แปลในนี้แปลว่า เต้าที่บริบูรณ์ สมบูรณ์ในตัว คือมีความมีความเป็น และมีความไร้ความว่าง สองสิ่งสอดประสานไว้เสมอ ถามว่า เล่าจื้อพูดเรื่องอะไร ถ้าอ่านพุทธจะรู้ทันทีว่า พูดเรื่อง นามรูป บอกว่า ก่อนที่คุณจะก้าวไปถึง ความเหนือดีชั่ว ต้องทำดีละชั่วมาก่อน ซึ่งจริงๆ ต่อให้เรา ละ หรือ ไม่ละ นามรูป นามรูปก็เกิดดับเสมอ แปลว่า ต้องศึกษาให้ถ่องแท้ เสร็จแล้วจึ่งวาง คนเราสมัยนี้จากที่ผมได้เจอ คือ ใช้ธรรมะไม่ถูกที่ ใช้ปล่อยวางกับการทำเหตุ แต่ไม่ยอมปล่อยวางผล คือ เอาคำว่า ปล่อยวางมาบอกว่าชั้นจะทำดีชั่วก็เสมอกัน เพราะคุณธรรมที่แท้คือว่าง แบบนี้ไม่ถูก เขาให้ปล่อยวางผลว่า ถ้าเชื่อกรรม คนเราหว่านพืชเช่นไรย่อมได้ผลเช่นนั้น อย่าไปกังวลให้มาก ต่างหาก อัสมิมานะ พุทธเจ้าขยายความไว้ยาวกว่า คำว่า อีโก้ ของฝรั่งครับ อริยบุคคลถ้ายังไม่ไปถึงขึ้น อนาคา หรือ อรหันต์ ล้วนมีอัสมิมานะ ทั้งนั้น ตราบเท่าที่ยังคงมี โทสะ ได้อยู่
Bình luận