ข้อความนี้คัดมาจากบทสนทนาระหว่างผมกับท่านผู้ใช้นามปากกาว่า สำนักงานสถาปนิก และที่ปรึกษากฎหมาย เฉลิมพงษ์ และท่านอื่นๆ ในกลุ่ม สถาปนิกคิดอะไร จากเฟสบุ๊คครับ
ส่วนบ้านเรือนของคนไทยปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีตแล้ว ที่ดินก็มีจำกัด สถาปนิก็จะต้องทำการออกแบบตัวบ้านตามประโยชน์ใช้สอยที่เจ้าของบ้านต้องการ เช่น จอดรถ 3 คัน ห้องนอน 4 ห้อง ฯลฯ การออกแบบที่ดีก็จะต้องทำให้ผู้อยู่อาศัยสะดวกสบายที่สุด ใช้พลังงานให้น้อยที่สุด อาจจะเคยได้ยินคำว่า”บ้านอยู่สบาย” นั่นและครับ………ทิศทางหน้าบ้านก็จะหันหน้าออกสู่ทางสัญจรหลัก ตัวอาคารก็จะพยายามออกแบบตามตะวัน เพราะจะทำให้อาคารรับแดดน้อยที่สุด อันนี้เป็นเรื่องการวิเคราะห์สถานที่ก่อนการออกแบบครับ
การสร้างบ้านตามตะวันมันก็คือการออกแบบให้หลบแดดครับ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้เอาห้องที่ไม่สำคัญเช่นห้องเก็บของ หรือห้องน้ำให้อยู่ในทิศรับแดด แต่ไม่ควรเอาห้องครัวไว้ทิศรับแดด เพราะในห้องครัวจะมีอาหาร ความร้อนจะทำให้อาหารเสียง่าย อีกทั้งในห้องนี้จะมีตู้เย็น หากร้อนมากๆจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนัก เปลืองพลังงาน
แต่ปัญหาก็คือ ปัจจุบันมีคนเยอะขึ้น เราอาจจะมีเนื้อที่ไม่พอครับ คราวนี้เราก็ต้องพึ่งพาสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยี เช่นฉนวน หรือแอร์ หรือ heat exchanger…ฯลฯ
heat exchanger มันคือเครื่องมือกลชนิดนึง ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ที่มีแอร์ระบบchiller มันจะติดอยู่ที่ช่องปล่อยอากาศเสียออกจากอาคาร แต่อากาศที่เสียนั้นยังจะมีความเย็นเหลืออยู่ อาคารที่อนุรักษ์พลังงานมากๆเค้าก็จะติด heat exchanger เพื่อดักเอาความเย็นนี้กลับมาใช้ใหม่อีกครั้งครับ………อันนี้ของแถมให้สถาปนิกน้องๆอ่านครับ
ประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรส่วนใหญ่แล้วจะต้องกำหนดให้ความร้อนมาทางทิศใต้เหมือนกันครับ ในทางกลับกันถ้าอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรก็จะกำหนดให้ความร้อนมาทางทิศเหนือ เหตุผลก็เพราะดวงอาทิตย์นี่แหละครับ
สิ่งที่ควรรู้อีกเรื่องนึงคือ ความร้อนที่เข้าสู่ตัวอาคาร(บ้าน)ส่วนใหญ่จะมาจากหลังคาถึง 70 % แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้ก็เลยไปให้ความสำคัญที่ผนัง ทั้งๆที่จริงๆแล้วเราควรให้ความสำคัญที่หลังคากับฉนวนหลังคาและฝ้าเพดานมากที่สุด
ด้านแสง ของไทยเราพยายามออกแบบหลบแสงมากที่สุด เพราะแสงมันจะมากับความร้อน ทิศทางเดียวที่สถาปนิกจะพยายามรับแสงให้มากที่สุดคือทิศเหนือ เพราะแสงด้านนี้ไม่มีความร้อน ถามว่าทำไม หลักการฟิสิกส์เบื้องต้นครับ มุมตกเท่ากับมุมสะท้อนครับ
คราวนี้ก็ลม สถาปนิกของไทยเราสอนกันมาว่าให้ออกแบบอาคารให้รับลมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นหลักครับ ลมด้านนี้จะมา 8-9 เดือนในหนึ่งปี
ทิศเหนือ ให้แสงเข้ามากที่สุดครับ ส่วนทิศตะวันตกเฉียงใต้ให้ลมเข้ามากที่สุด อย่าเอาอะไรไปบังมัน เช่นต้นไม้ ศาลา ฯลฯ และไม่ควรสร้างสิ่งที่สะท้อนความร้อนในบริเวณนี้ เช่นลานคอนกรีต เพราะแทนที่จะได้ลมเย็นกลับจะได้ลมร้อนไปแทน
ในทิศตะวันตกเฉียงใต้นี้ถ้ามีสระน้ำ หรือสระว่ายน้ำจะดีต่ออาคารมาก เพราะไอระเหยจากน้ำจะลดอุณหภูมิของลมที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร
ทิศใต้ครับ เวลที่ร้อนที่สุดคือ 10 โมงเช้า และ บ่าย 2 ครับ เหตุก็เพราะพอถึงช่วงฤดูร้อน พระอาทิตย์จะอ้อมใต้ และมุมที่สะท้อนเข้าอาคารได้ดีที่สุดจะอยู่ในช่วงเวลานั้นครับ
ผม :เก้าโมงเช้าถึงบ่ายโมงของตำราจีนก็เป็นทิศธาตุไฟครับ ซึ่งจริงๆมันคือเรื่องเดียวกัน … ว่าไปว่ามาพื้นวิชามันตรงกันแทบจะหมด ผิว์แต่ว่า คนเอาไปแตกแขนงจนลืมพื้นฐานไป
ผม : ละทำไม ควรปลูกต้นไม้ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อก่อนเคยได้รับการสอนมาว่าให้พยายามหลบลมที่มาจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะนั่นคือลมหนาว มันจะมาพร้อมโรคภัย ก็คงจะเป็นจำพวกโรคหวัด เค้าก็เลยพยายามจะปลูกต้นไม้กันลมในทิศนั้นมั๊งครับ แต่ปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว เพราะบ้านเมืองเราร้อนสุดๆ ทิศไหนลมหนาวมาก็ให้เปิดรับมากๆ เพราะเย็นดี 555
Comments