ผมเอา หลักการแพทย์จีน เกี่ยวกับห้าธาตุ มาลงให้อ่าน ท่านใดที่สนใจและมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ โหราศาสตร์จีน ลองอ่านดูครับ ! เผื่อจะทำให้นึกอะไรดีๆได้ หรือเข้าใจ อะไร อะไร มากขึ้น ลึกขึ้น มีบางแง่มุมที่น่าสนใจมากที่ตำราโหราศาสตร์จีนไม่ค่อยอธิบายแบบนี้นะ
ทฤษฏีห้าธาตุ (五行学说)
ยิน-หยางจะควบคุมและเป็นส่วนประกอบของสรรพสิ่งในจักรวาล สรรพสิ่งยังประกอบด้วยธาตุทั้งห้า คือ ไม้ ไฟ ดิน ทอง และน้ำ มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลจึงมีลักษณะของธาตุทั้งห้าอยู่ในร่างกายอย่างมีกฏเกณฑ์แน่นอน
ธาตุไม้(木) มีลักษณะพิเศษ คือ เกิดใหม่ได้ เจริญเติบโตได้ และอ่อนนุ่ม ได้แก่ ตับ ถุงน้ำดี ธาตุไฟ(火) มีลักษณะพิเศษ คือ ร้อน ได้แก่ หัวใจ ลำไส้เล็ก ธาตุดิน(土) มีลักษณะพิเศษ คือ ให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง ได้แก่ ม้าม กระเพาะอาหาร ธาตุโลหะ(金) มีลักษณะพิเศษ คือ สะอาด บริสุทธ์ แข็ง และมีความสามารถในการดูดซับ ได้แก่ ปอด ลำไส้ใหญ่ ธาตุน้ำ(水) มีลักษณะพิเศษ คือ ทำให้เกิดความชื้นชื้น ไหลลงสู่ที่ต่ำ ได้แก่ ไต กระเพาะปัสสาวะ
ธรรมชาติ
自然界
ปัญจธาตุ
五行
ร่างกายมนุษย์
人体
รสชาด
五味
สี
五色
อากาศ
气候
ฤดูกาล
季節
อวัยวะตัน
脏
อวัยวะกลวง
腑
อวัยวะรับรู้
五官
เนื้อเยื่อ
五体
อารมณ์
五志
เปรี้ยว
酸
เขียว
青
ลม
风
ใบไม้ผลิ
春
ธาตุไม้
木
ตับ
肝
ถุงน้ำดี
胆
ตา
目
เอ็น
筋
โกรธ
怒
ขม
苦
แดง
赤
ร้อน
暑
ร้อน
夏
ธาตุไฟ
火
หัวใจ
心
ลำไส้เล็ก
小肠
ลิ้น
舌
หลอดเลือด
血
ดีใจ
喜
หวาน
甘
เหลือง
黃
ชื้น
湿
ปลายร้อน
長夏
ธาตุดิน
土
ม้าม
脾
กระเพาะอาหาร
胃
ปาก
口
กล้ามเนื้อ
肉
กังวล
思
เผ็ด
辛
ขาว
白
แห้ง
燥
ใบไม้ร่วง
秋
ธาตุทอง
金
ปอด
肺
ลำไส้ใหญ่
大肠
จมูก
鼻
ผิวหนัง,ขน
皮毛
เศร้า
悲
เค็ม
咸
ดำ
黑
เย็น
寒
หนาว
冬
ธาตุน้ำ
水
ไต
肾
กระเพาะปัสสาวะ
膀胱
หู
耳
กระดูก
骨
กลัว
恐
ธาตุทั้งห้าจะมีความสัมพันธ์ต่อกันใน 2 ลักษณะคือ การสร้าง (生) และการข่ม (克)
การสร้าง (生) หมายถึงการหนุนเนื่องให้มีการเกิดและการพัฒนา ธาตุที่เป็นตัวสร้างถือเป็นธาตุ”แม่ (母)” ส่วนธาตุที่ถูกสร้างถือว่าเป็นธาตุ “ลูก(子)” ตัวอย่างเช่น น้ำสร้างไม้ น้ำจึงเป็นแม่ของไม้ และไม้เป็นลูกของน้ำ แต่ไม้สร้างไฟ ไม้จึงเป็นแม่ของไฟและไฟเป็นลูกของไม้ ดังนี้ ไม้ สร้าง ไฟ 木生火—— ( ตับ เป็นที่เก็บสะสมเลือด ส่งไปเลี้ยงที่ หัวใจ ) ไฟ สร้าง ดิน 火生土—— ( หัวใจ ช่วยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงที่ ม้าม) ดิน สร้าง ทอง 土生金—— ( ม้าม ทำหน้าที่สร้างเลือดและลมปราณไปหล่อเลี้ยง ปอด ) ทอง สร้าง น้ำ 金生水—— ( ปอด มีลมปราณจากปอดกระจายลงไปช่วยการทำงานของ ไต ) น้ำ สร้าง ไม้ 水生木—— ( ไต มีสารจำเป็นที่สะสมอยู่ในไตสามารถเปลี่ยนเป็นเลือดและไปสะสมอยู่ที่ ตับ )
การข่ม (克) หมายถึงการคุม หรือกดกันไว้ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ ไม้ ข่ม ดิน 木克土—— ( ลมปราณ ตับ มักแผ่ซ่าน สามารถกระจายลมปราณ ม้าม ที่ติดขัดได้) ดิน ข่ม น้ำ 土克水—— ( ม้าม ดูดซึมอาหารและน้ำ ป้องกันน้ำของ ไต ไม่ให้สะสมมากเกินไป) น้ำ ข่ม ไฟ 水克火—— ( น้ำจาก ไต ขึ้นไปควบคุม หัวใจ ไม่ให้ร้อนแรงเกินไป ) ไฟ ข่ม ทอง 火克金—— ( ไฟหยางของ หัวใจ สามารถควบคุมไม่ให้ลมปราณจาก ปอด กระจายลงมากเกินไป ) ทอง ข่ม ไม้ 金克木—— ( ลมปราณจาก ปอด กระจายลง ป้องกันหยางของ ตับ ไม่ให้เพิ่มมากเกินไป )
การสร้างและการข่มจะดำเนินควบคู่สัมพันธ์กันในลักษณะสมดุล เพื่อทำให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น เจริญเติบโต ทรงตัวอยู่ได้ และตายไป หากสมดุลถูกทำลาย ความผิดปกติจะเกิดขึ้น
ทฤษฎีปัญจธาตุนี้นำมาประยุกต์อธิบายในการจำแนกโรค และใช้เป็นแนวทางการรักษาเช่น โรคตับ (ธาตุไม้) อาจถ่ายทอดไปยังหัวใจได้ (ธาตุไฟ) เพราะธาตุไม้สร้างธาตุไฟ หรือแม่ป่วยแล้วลูกป่วยตาม โดนอาจจะย้อนกลับไปหาธาตุน้ำได้ คือป่วยเป็นโรคไตได้อีก เพราะธาตุน้ำสร้างธาตุไม้ ดังนั้นการรักษาต้องติดตามไปถึงอวัยวะที่เป็นแม่ และอวัยวะที่เป็นลูกของอวัยวะที่เป็นโรคด้วยเสมอ
นอกจากการสร้างและการข่มแล้วยังมีปรากฏการณ์อีก 2 ลักษณะคือ การข่มเกิน (乘) และการข่มกลับ (侮)
การข่มเกิน(乘) หมายถึง การฉวยโอกาสที่ตนแข็งแกร่งขึ้น หรืออีกฝ่ายอ่อนแอลง ช่มอีกฝ่ายมากเกินกว่าเคยข่มในภาวะปกติ
การข่มกลับ(侮) หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุหนึ่งเคยเป็นฝ่ายถูกข่ม แต่กลับมีความแกร่งมากขึ้นมากจนสามารถข่มกลับธาตุเดิมได้ เช่น ปกติธาตุทองข่มธาตุไม้ และธาตุไม้ข่มธาตุดิน หากมีภาวะใดที่ธาตุไม้แกร่งขึ้นมาก จะมีการข่มเกินต่อธาตุดิน และสามารถที่จะข่มกลับธาตุทองได้ การข่มเกินและข่มกลับมีกฏเกณฑ์แน่นอน ธาตุที่สามารถข่มเกินธาตุอื่นได้ต้องแกร่งกว่า ส่วนธาตุที่ถูกข่มกลับต้องเป็นธาตุที่พร่อง
Kommentare