มีผู้ให้ความเห็นว่า ” ในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าจำนวนขั้นบันได(ลูกนอน) ห้ามเป็นเลขคู่ เพราะคนสมัยก่อนจะถือเลขมงคล ถ้าเป็นเลขคี่จะหมายถึงคนเป็น ส่วนเลขคู่จะหมายถึงคนตายค่ะ ดังนั้นการสร้างขั้นบันไดจึงมีความเชื่อว่าจะต้องให้ลูกนอนหรือจำนวนขั้นบันได ลงท้ายด้วยเลขคี่เสมอ ส่วนลูกตั้งซึ่งเราสามารถนับได้จากเวลาขึ้นบันไดควรเป็นเลขคู่ แต่ที่แท้จริงน่าจะมีสาเหตุมาจากการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับสรีระมนุษย์และเพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดหกล้มหากจะต้องก้าวเร็วๆเพื่อขึ้นบันไดข้ามขั้น เพื่อจะได้ความสูงที่พอดีกันในทุกๆระยะ ”
ลักษณะของบันไดหลัก และบันไดหนีไฟ กรณีเป็นบันไดของอาคารอยู่อาศัย ลักษณะกายภาพของบันได ให้พิจารณาตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)ฯ ข้อ 23 ส่วนกรณีบันไดหนีไฟ ให้พิจารณาตาม กฎฯ ข้อ 24 ส่วนที่จะต้องมีชานพักหรือไม่ ถ้าบันไดตามข้อ 23 และ 24 ที่เป็นแนวโค้งเกิน 90 องศา จะไม่มีชานพักบันไดก็ได้ ตาม กฎฯ ข้อ 26
“ข้อ 23 บันไดของอาคารอยู่อาศัยถ้ามีอย่างน้อยหนึ่งบันไดที่มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เมตร เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันได เหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันไดมีความกว้างและยาว ไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันไดต้อง มีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากชั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุด ของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร
ข้อ 24 บันไดของอาคารอยู่อาศัยรวม หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก สำนักงานอาคารสาธารณะ อาคารพาณิชย์ โรงงาน และอาคารพิเศษ สำหรับที่ใช้กับชั้นที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันไม่เกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร แต่สำหรับบันไดของอาคารดังกล่าวที่ใช้กับชั้น ที่มีพื้นที่อาคารชั้นเหนือขึ้นไปรวมกันเกิน 300 ตารางเมตร ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ถ้าความกว้างสุทธิของบันไดน้อยกว่า 1.50 เมตร ต้องมีบันไดอย่างน้อยสองบันไดและแต่ละบันได ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร
บันไดของอาคารที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก เช่น บันไดห้องประชุมหรือห้องบรรยายที่มี พื้นที่รวมกันตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดห้องรับประทานอาหารหรือสถานบริการที่มีพื้นที่ รวมกันตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือบันไดของแต่ละชั้นของอาคารนั้นที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร อย่างน้อยสองบันได ถ้ามีบันไดเดียวต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร
บันไดที่สูงเกิน 4 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 4 เมตร หรือน้อยกว่านั้นและระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 2.10 เมตร
ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างสุทธิของบันได เว้นแต่บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 2 เมตร ชานพักบันไดและพื้นหน้าบันไดจะมีความยาวไม่เกิน 2 เมตรก็ได้
บันไดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองต้องมีลูกตั้งสูงไม่เกิน 18 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร และต้องมีราวบันไดกันตก บันไดที่มีความกว้างสุทธิเกิน 6 เมตร และช่วงบันไดสูงเกิน 1 เมตร ต้องมีราวบันไดทั้งสองข้าง บริเวณจมูกบันไดต้องมีวัสดุกันลื่น ”
“ข้อ 26 บันไดตามข้อ 23 และข้อ 24 ที่เป็นแนวโค้งเกิน 90 องศา จะไม่มีชานพักบันไดก็ได้ แต่ต้องมีความกว้างเฉลี่ยของลูกนอนไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร สำหรับบันไดตามข้อ 23 และไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร สำหรับบันไดตามข้อ 24 ”
ทั้งนี้ ในทางฮวงจุ้ยแล้วยังไม่พบว่ามีตำราใดระบุความมงคลไม่มงคลของ ขั้นบันได ภายในบ้าน เนื่องจากการสร้างอาคารจีนสมัยก่อน สร้างเตี้ยๆ ไม่ได้สร้างสูง บันไดจะมีก็เพียงภายนอกอาคาร หรือไม่ก็คือบันไดของเจดีย์ภายในวัด เท่านั้น…
ซินแสหลัว
Comments