top of page
รูปภาพนักเขียนหมอซินแส

เทศกาลกินเจ ห้ามกินใบยาสูบ ??!!

ผักต้องห้าม-กินเจ

ช่วงที่คนไทยนับวันยิ่งฮิต กินเจ กันมากขึ้นๆหนะนะ ยิ่งปีนี้ นายกฯ ท่านออกข่าวว่า เชิญชวนให้กินกันด้วย หลายคนไม่เคยกินก็ต้องค้นหาข้อมูลว่า เขากินเจกันอย่างไร และเวปไซต์ต่างๆก็พยายามนำเสมอบทความเรื่องกินเจ ผมก็พอตามอ่านบ้าง เพราะชอบหาความรู้เผื่อเจอบทความใหม่ๆน่าสนใจ ทีนี้เราก็ไปอ่านสะดุดทุกที ตรงคำว่า ผักฉุนห้าอย่าง ที่คนกินเจห้ามทาน หนึ่งในนั้นคือ ยาสูบ ? ห๊ะ ยาสูบ กินเจ ห้าม ใบยาสูบ งั้นแปลว่า ปรกติ คนจีนเอา ยาสูบ มากินงั้นเหรอ โชคดีที่มีพี่ที่รู้จักท่านนึงเขียนบทความดีๆไว้ เฟสท่านชื่อ /amaresh.kalaputtra เรียบเรียงรวบรวมเอาไว้ดีมากๆ ว่า ที่ท่านเคยได้ยินมาว่าผักต้องห้ามนั้นจะมีใบยาสูบ ด้วยนั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะในภาษาจีนแต้จิ๋วจะเรียกต้นยาสูบว่า “ฮุงไฉ่ (煙菜)” แต่มีพืชผักชนิดหนึ่งตามคัมภีร์ยื่อเงี่ยเก็ง ที่กล่าวไว้ว่าควรงดบริโภคในเทศกาลกินเจ คือ “ฮุ้งไฉ่ (蕓菜)” ที่หมายถึงต้นมัสตาร์ด แล้วเมื่อคนไทยหรือคนจีนบางท่านที่เกิดในประเทศไทยเรารุ่นหลังได้ยินคำว่า “ฮุ้งไฉ่ (蕓菜)” ก็อาจจะฟังเพี้ยนไปว่าเป็น “ฮุงไฉ่ (煙菜)” ก็เลยทำให้เกิดความเข้าใจผิด แล้วนำไปสื่อสารกันต่อว่าพืชผักต้องห้ามในการถือศีลกินเจนั้นมีต้นยาสูบด้วย ซึ่งความจริงแล้วต้นยาสูบนั้นเราก็ไม่ค่อยจะนำมารับประทานเป็นกับข้าวอยู่แล้ว แต่จะใช้ใบของมันมาทำยาสูบหรือบุหรี่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงต้องเข้าใจกันใหม่ให้ถูกต้องว่าพืชผักที่ควรงดบริโภคในช่วงกินเจตามคัมภีร์ยื่อเงี่ยเก็ง คือ ต้นมัสตาร์ด และไม่ใช่ต้นยาสูบอย่างที่เข้าใจนะครับ แต่อย่างไรก็ดี ใบยาสูบหรือบุหรี่ (煙) นั้นก็ถือว่าเป็นของต้องห้ามของการถือศีล 8 ในข้อที่ 5 ว่าด้วยการพึงงดเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดมึนเมาอยู่แล้ว จึงไม่ต้องนำมากล่าวอีกว่าเป็นสิ่งที่ควรงดหรือไม่ในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งในความรู้ที่ผมรู้มา แพ้แต่ ชา กาแฟ ที่ท่านกินจนติดจนขาดไม่ได้ เช้าไหนมาเข้าที่ทำงานต้องกิน ก็เข้าข่าย สิ่งเสพย์ติดแล้วเหมือนกันนะครับ ถ้าจะเอาศีล 5 แบบละเอียดๆจริงๆ 一餐吃齋 萬靈超生 เป็นคำที่คนไทยเรานิยมนำมาพูดในช่วงเทศกาลประเพณีกินเจว่า “หนึ่งมื้อกินเจ หมื่นชีวิตรอดตาย” ภาษาจีนแต้จิ๋ว อ่านว่า “อิกชังหงึกแจ บ่วงเล้งเถี่ยวแซ” ภาษาจีนกลาง อ่านว่า “อีชานชือไจ ว่านหลิงเชาเซวิง” โดยถ้าแปลแยกคำเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ละคำจะมีความหมายดังนี้ คือ :- 一 (yi1 ภาษาจีนกลาง : อี และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : เจ้กหรืออิก) หมายถึง หนึ่ง, ทั้งหมด, ทั้งปวง, ประเดี๋ยวเดียว, เมื่อ, ที่หนึ่ง, อย่างเดียว, เดียว 餐 (can1 ภาษาจีนกลาง : ชาน และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : ชัง) หมายถึง รับประทาน, กินอาหาร, มื้อ (อาหาร) 吃 (chi1 ภาษาจีนกลาง : ชือ และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : หงึก) หมายถึง กิน, รับประทานอาหาร, เสพ, สูบ, ดูด 齋 หรือ 斋 (zhai1 ภาษาจีนกลาง : ไจ และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : แจ) หมายถึง ตักบาตร, ให้ทาน, ถวายแด่พระ, กล่อมเกลาจิตใจ, อาหารเจ 萬 หรือ 万 (wan4 ภาษาจีนกลาง : อว้วนหรือว่าน และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : บ้วงหรือบ่วง) หมายถึง หนึ่งหมื่น, อย่างยิ่ง, เหลือเกิน, ทุกสิ่ง, ใช้บรรยายถึงความมากมาย 靈 หรือ 灵 (ling2 ภาษาจีนกลาง : หลิง และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : เล้ง) หมายถึง ประเสริฐเลิศล้ำ, เกิดผล, มีผล, มีประสิทธิผล, มีสรรพคุณ, ได้ผล, บุคคลที่ได้สิ้นชีวิตไปแล้ว, เฉียบไว, ว่องไว, ปราดเปรียว 超 (chao1 ภาษาจีนกลาง : เชา และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : เถี่ยว) หมายถึง กระโดด, ข้าม, เกิน, ยอดเยี่ยม, เลิศล้ำ, เหนือกว่า, พิเศษ 生 (sheng1 ภาษาจีนกลาง : เซวิงหรือเซิง และ ภาษาจีนแต้จิ๋ว : แซ) หมายถึง มีชีวิตอยู่, ดำรงชีวิตอยู่, สิ่งที่มีชีวิต, อาชีพ, การทำมาหากิน, วิถีชีวิต, เกิด, คลอด, เจริญเติบโต, งอกเงย, เพิ่มพูน เทศกาลกินเจ หรือ เจี้ยะแจโจ้ยะ (食齋節) หรือ เจี้ยะแจโจ้ยะ (食菜節) คำๆ นี้มีความหมาย คำว่า “เจี้ยะ (食)” จะหมายถึง การกิน, การรับประทานอาหาร, อาหารการกิน (โดยคนไทยมักนิยมออกเสียงว่า “เจี๊ยะ”) คำว่า “แจ (齋)” จะหมายถึง การทำบุญตักบาตร, การถวายอาหารแด่พระหรือเทพเจ้า, การให้ทาน, การขัดเกลากายวาจาใจให้สะอาดบริสุทธิ์ (โดยคนไทยมักนิยมออกเสียงว่า “เจ”) คำว่า “ไฉ่ (菜)” จะหมายถึง ผัก หรืออีกนัยหนึ่งจะหมายถึงอาหารที่เกิดจากต้นพืชด้วย (โดยคนไทยมักนิยมออกเสียงว่า “ฉ่าย”) คำว่า “โจ้ยะ (節)” จะหมายถึง เทศกาล, ประเพณี, พิธีกรรมที่ถูกกำหนดไว้ในแต่ละฤดู (โดยคนไทยมักจะออกเสียงว่า “โจ่ย”) อันเทศกาลกินเจนี้มีมาช้านานแล้วในประเทศจีน เป็นประเพณีเก่าแก่ของทางลัทธิเต๋า (ออกเสียงว่า “เต้า” ในภาษาจีนกลาง) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ประเพณีกินผัก หรือ เจี้ยะไฉโจ้ยะ (食菜節)” โดยจะเริ่มเทศกาลประเพณีกินเจหรือเริ่มการถือศีลกินผักกันอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 เดือน 9 (九月初二日) ถึงวันที่ 9 เดือน 9 (九月初九日) รวม 9 วัน 9 คืนของทุกปีทางจันทรคติจีน อันคำว่า “แจ (齋)” นั้นยังมีความหมายลึกซึ้งกว่าที่กล่าวมาข้างต้น โดยยังจะกินความลงไปถึง การให้ทานแก่ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก, การบริจาคช่วยเหลือผู้ที่สมควรให้ความช่วยเหลือ, การกล่อมเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง, การกระทำด้วยสัมมาทิฏฐิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาหรือถวายแด่เทพเจ้า และยังหมายถึงการบริโภคแต่อาหารเจหรืออาหารที่ไม่มีเนื้อหรือสิ่งอันเกิดจากสัตว์เจือปนในอาหารนั้น ซึ่งจะพบคำว่า “แจ (齋)” ในหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์เก่าแก่ของทางลัทธิเต๋า หรือ เต๋าก่า (道教) และลัทธิหยู หรือ ยู่ก่า (儒教) อยู่มากมากหลายฉบับ อาทิเช่น – หนังสือบันทึกพิธีการและขนบธรรมเนียมประเพณี หรือ ลี่กี่ (禮記) – หนังสือบันทึกการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในราชวงศ์จิว หรือ จิวอี๋ (賙易) – หนังสือจดหมายเหตุราชวงศ์จิว หรือ อิ้กจิวจือ (逸賙書) – หนังสือศาสตร์แห่งวิทยาการการเปลี่ยนแปลง หรือ อี๋เก็ง (易經) – หนังสือรวบรวมแนวปรัชญาคำสอนของเม่งจื้อ หรือ เหมงจื้อกี่ (孟子記) นอกจากนี้แล้วยังมีเอกสารและตำนานที่เกี่ยวข้องกับการกินเจปรากฏอยู่อีกมากมายหลายเรื่องหลายตำนาน ทั้งของทางลัทธิเต๋าและของทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานของจีน ที่มาของตัวอักษรคำว่า “แจ (齋)” นั้นพัฒนามาจากตัวอักษร “ชี้ (齊)” ที่แปลว่า ครบถ้วนบริบูรณ์, พร้อมสรรพ, สม่ำเสมอ, เรียบร้อย แล้วเพิ่มคำว่า “เซี่ยว (小)” ที่แปลว่า เล็กหรือน้อย ลงข้างล่าง จนเกิดเป็นคำว่า “สี่ (示)” ที่แปลว่า การแสดงออก, แสดงให้ปรากฏเห็นแก่สายตาคน ขึ้นมาอีกคำอยู่ภายใต้อักษร “齊” จึงตีความหมายได้เป็น 2 นัยยะว่า หมายถึง การประกอบกรรมดีให้ครบถ้วนบริบูรณ์ในช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง (齊 + 小) กับการประกอบกรรมดีให้เห็นประจักษ์เป็นรูปประธรรม (齊 + 示) นั่นเอง ดังนั้นคำว่า “แจ (齋)” จึงมีความหมายโดยรวมว่า การประกอบกรรมดีให้ถึงพร้อมทั้งกาย วาจาและใจ อีกทั้งยังสอดคล้องกับคำว่า “แจเจี่ยว (齋醮)” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “ก้งแจเจี่ยวซิ้ง (供齋醮神)” ที่หมายถึง “การประกอบพิธีกรรมสักการะบูชาถวายแด่เทพเจ้า ด้วยกาย วาจาและใจให้เป็นที่ประจักษ์แจ้ง” แล้วต่อมาก็พัฒนาเป็นคำว่า “แจไก่ (齋戒)” อันหมายถึง “การทำความดีถวายเป็นพุทธบูชาหรือแด่เทพเจ้าด้วยการอดกลั้นระงับไม่ทำในสิ่งที่ผิดหลักคำสอนในศาสนาและการงดละเลิกสิ่งเสพติดทั้งมวล” นั่นเอง คำว่า “แจ (齋)” ในกับความหมายทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อพระพุทธศาสนานิกายมหายานได้เผยแผ่มาสู่ประเทศจีน ซึ่งเดิมนับถือลัทธิเต๋า (เหล่าจื้อ) และลัทธิยู่ (ขงจื้อ) อยู่ แต่ในหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาหรือพระไตรปิฎกที่เข้าสู่จีนนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับศีลเข้ามาด้วย โดยเฉพาะ “ศีลแปด หรือ อุโบสถศีล” อันเป็นศีลที่ควรประพฤติปฏิบัติของอุบาสกอุบาสิกา ผู้ยังบริโภคกามอยู่ทั่วไปนั่นเอง ครั้นเมื่อพระไตรปิฎกในภาษาสันสกฤต (แตกต่างกับของทางเถรวาทที่ยึดพระไตรปิฎกภาษาบาลี) ได้เข้าสู่ประเทศจีนแล้ว ชาวจีนก็ได้แปลพระไตรปิฎกนั้นออกมาเป็นภาษาจีนเพื่อง่ายแก่การสอนและการจดจำ แล้วศีลแปดหรือศีลอุโบสถก็ถูกแปลหรือถอดความออกมาเป็นคำว่า “โป่ยกวงแจไก่ (八關齋戒)” ซึ่งแปลว่า “ศีลเบื้องต้นที่เป็นดั่งการปิดประตูป้องกันกิเลส แล้วจะนำเราไปสู่การขัดเกลาจิตใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์” หรือแปลง่ายๆ สั้นๆ ว่า “ศีลบริสุทธิ์แปดประการ” นั่นเอง ซึ่งก็คือ 1. การพึงละเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์และฆ่าสัตว์ (不殺生) ฉะนั้นการนำประวัติเรื่องเจ้าแม่กวนอิมเคยเสวยหอยนางลมมาอ้าง แล้วกินหอยนางรมในช่วงที่กินเจได้จึงฟังไม่ขึ้น 2. การพึงละเว้นจากการลักทรัพย์ของผู้อื่นหรือเอาของผู้อื่นไปโดยที่เขายังมิได้อนุญาต (不偷盜) 3. การพึงละเว้นจากการประพฤติผิดในพรหมจรรย์ (不淫) 4. การพึงละเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบคายและพูดเพ้อเจ้อ (不妄語) 5. การพึงละเว้นจากการดื่มสุราเมรัยหรือสิ่งเสพติด อันเป็นที่ตั้งหรือเป็นเหตุแห่งความประมาท (不飲酒) 6. พึงละเว้นจากการบริโภคอาหารหลังยามวิกาล (不非時食 <持齋>) 7. พึงเว้นจากการขับร้องฟ้อนรำประโคมดนตรี เครื่องหอมเครื่องทา และเครื่องประดับร่างกายด้วยของสวยงามทุกชนิด (不著香華鬘、不香油塗身、不觀聽歌舞) 8. พึงเว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินไป และที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ภายในใส่นุ่นหรือสำลี อีกทั้งอาสนะอันวิจิตรงดงามประดับด้วยเงินหรือทอง (不眠坐華麗之床) ****หมายเหตุ*** เกี่ยวกับศีลข้อ 3, ศีลข้อ 6 และศีลข้อ 8 ในเทศกาลกินเจ – ศีลข้อ 3 ในกรณีเทศกาลกินเจ ถ้าเป็นผู้ที่ถือศีลอย่างเคร่งครัดหรือตัดสินใจจะถือศีลข้อนี้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็จะงดการประกอบกิจทางกามรมณ์ทั้งมวล อีกทั้งผู้ชายกับผู้หญิงจะไม่อยู่ใกล้ชิดกันจนเกินควรไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยากันก็ตาม ส่วนสำหรับชาวบ้านธรรมดาที่ถือศีลกินเจเพียงชั่วขณะระยะเวลาหนึ่งหรือตั้งใจที่จะบริโภคอาหารเจในบางโอกาส ก็อนุโลมหรือสามารถใกล้ชิดกันได้แต่จะงดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และการผิดลูกผิดเมียเขาเหมือนๆ กัน (ซึ่งแตกต่างจากศีลห้า ที่สามีและภรรยายังสามารถมีเพศสัมพันธ์กันได้) – ศีลข้อ 6 ในกรณีเทศกาลกินเจ ถ้าเป็นผู้ที่ถือศีลอย่างเคร่งครัดหรือตัดสินใจถือศีลข้อนี้อย่างต่อเนื่องยาวนานก็จะงดการบริโภคหลังยามวิกาล ซึ่งจะเรียกว่า “ที้แจ (持齋) ไม่ใช่เพราะฉันรู้มาก เก่งมาก ดีมาก มาแต่เกิด ดอกหนา ดังนั้น ฉันไม่รู้ว่าฉันเก่งไหม แต่ขอบคุณสวรรค์ที่ทำให้ฉันเจอคนเก่งๆ ฉันไม่แน่ใจว่าฉันดีแค่ไหน แต่ขอบคุณสวรรค์ที่ทำให้ฉันเกิดมาเจอคนดีๆ ฉันไม่รู้ว่า สวรรค์ที่ฉันขอบคุณมีจริงไหม แต่ฉันขอบคุณพ่อแม่ที่ทำให้ฉันได้เกิดมาบนโลกใบนี้ และได้รับความสุขีจากสวรรค์ ฉันก็ขอใช้ทุกคืนวันที่เกิดมานี้ ทำตัวให้เก่งขึ้น ดีขึ้น กว่าเก่าที่เคยเป็น ไม่ใช่เพื่อว่าฉันจะได้เด่นกว่าใคร แต่เพื่อสักวันถ้าฉันไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว อย่างน้อยๆ จะได้มีคนขอบคุณ สวรรค์ มากขึ้น เขาไม่รู้หรอกว่า สวรรค์ที่เขาขอบคุณ แท้จริงก็คือ สวรรค์ที่เขาสร้าง เขาไม่มีทางรู้ได้เลย จนกว่าเขาจะรู้จักคำว่า บุญคุณของธรรมชาติ และบุญคุณของพ่อแม่ น่าเสียดาย คนสมัยนี้จำกันแบบไม่ค่อยถูกว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จริงๆแล้ว อัตตาหิ อัตโนนาโถ แปลว่า อัตตา เป็นที่พึ่งของอัตตา อัตตาใดๆนั้น ชาวมคธเขาแปลว่า สัตว์ก็ได้ คนก็ได้ ต้นไม้ใบหญ้า อะไรก็ได้ ที่เราได้พึ่งพาอาศัย ถ้าคิดได้แบบนี้แล้วเราจะรู้ทันทีว่า ตอนที่เราแบเบาะ เท้าเท่าฝาหอย เราไม่ได้พึ่งตนเอง คำถามสั้นๆ เราพึ่งใคร และเมื่อเราได้พึ่ง เราควรตอบแทนอย่างไร ซินแสหลัว ขอขอบคุณ ภาพจาก เวป มติชน เรื่องราวจาก พี่อ๊อด

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ลูกตุ้มโมเมนตั้ม ช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังสือได้

จากคำถามที่มีผู้ถามมาว่า ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับ ลูกตุ้มโมเมนตั้ม นะคะ คือดิฉันไปได้ยินมาว่า สามารถช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังส...

เลขมงคลประจำยุคนี้

พูดตรงๆนะ ผมไม่ใช่คนเรียบร้อยผ้าพับไว้ ผมไปเห็นบางคนบางท่านผมก็ยังนึกดีใจ ชื่นชม และบางทีก็ละอายใจ ว่า เขาเรียบร้อย หรือ...

Comments


bottom of page