top of page
รูปภาพนักเขียนหมอซินแส

ไหว้พระจันทร์ ทำไม ทำไมไม่มีเทศกาลไหว้พระอาทิตย์

ตำนานไหว้พระจันทร์


เทศกาล ไหว้พระจันทร์ เทศกาลแห่งความพร้อมหน้าพร้อมตาตามธรรมเนียมจีน พุทธศาสนา ถือเอาพระจันทร์ อันปรากฎกระต่าย เป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้เป็นพุทธเจ้า เรื่องราวแห่งการยอมสละเลือดเนื้อเป็นอาหารแก่ “ผู้มีศีล”

ไหว้พระจันทร์ ระลึกถึง ความกรุณา

ตำนาน กระต่ายบนดวงจันทร์ในพระพุทธธรรม

ปัณฑิตชาดก ว่าด้วย ผู้สละชีวิตเป็นทาน

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการถวายบริขารทุกอย่าง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สตฺต เม โรหิตา มจฺฉา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในนครสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งตระเตรียมการถวายบริขารทุกอย่างแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้สร้างมณฑปที่ประตูเรือนแล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้นั่งบนบวรอาสน์ในมณฑปที่ได้จัดแจงไว้ดีแล้ว ถวายทานอันประณีตมีรสเลิศต่างๆ แล้วนิมนต์ฉันอีกตลอด ๗ วัน.

ในวันที่ ๗ ได้ถวายบริขารทั้งปวงแก่ภิกษุ ๕๐๐ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดา เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนา จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ควรที่ท่านจะกระทำปีติโสมนัส ก็ชื่อว่า ทานนี้เป็นวงศ์ของโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ด้วยว่าโบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้บริจาคชีวิตแก่เหล่ายาจกผู้มาถึงเฉพาะหน้าแม้ชีวิตของตนก็ได้ให้แล้ว.

อันอุบาสกนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระต่ายอยู่ในป่า ก็ป่านั้นได้มีเชิงเขา แม่น้ำและปัจจันตคาม มารวมกันแห่งเดียว.

สัตว์แม้อื่นอีก ๓ ตัวคือ ลิง สุนัขจิ้งจอกและนากได้เป็นสหายของกระต่ายนั้น. สัตว์แม้ทั้ง ๔ นั้นเป็นบัณฑิตอยู่รวมกัน ถือเอาเหยื่อในที่เป็นที่โคจรของตนๆ แล้วมาประชุมกันในเวลาเย็น สสบัณฑิตแสดงธรรมโดยการโอวาทแก่สัตว์ทั้ง ๓ ว่า พึงให้ทาน พึงรักษาศีล พึงกระทำอุโบสถกรรม.

สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับโอวาทของสสบัณฑิตนั้น แล้วเข้าไปยังพุ่มไม้ อันเป็นที่อยู่อาศัยของตนๆ อยู่.

เมื่อกาลล่วงไปอยู่อย่างนี้ วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มองดูอากาศเห็นดวงจันทร์ รู้ว่าพรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ จึงกล่าวกะสัตว์ทั้ง ๓ นอกนี้ว่า พรุ่งนี้เป็นวันอุโบสถ แม้ท่านทั้ง ๓ จงสมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทานที่ผู้ตั้งอยู่ในศีลแล้วให้ ย่อมมีผลมาก เพราะฉะนั้น เมื่อยาจกมาถึงเข้า ท่านทั้งหลายพึงให้รสอาหารที่ควรกิน แล้วจึงค่อยกิน.

สัตว์ทั้ง ๓ นั้นรับคำแล้วพากันอยู่ในที่เป็นที่อยู่ของตนๆ.

วันรุ่งขึ้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น นากคิดว่าเราจักแสวงหาเหยื่อแต่เช้าตรู่ จึงไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา.

ครั้งนั้น พรานเบ็ดคนหนึ่งตกปลาตะเพียนได้ ๗ ตัว จึงเอาเถาวัลย์ร้อยคุ้ยทรายที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เอาทรายกลบไว้ เมื่อจะจับปลาอีกจึงไปยังด้านใต้แม่น้ำคงคา.

นากสูดได้กลิ่นปลา จึงคุ้ยทราย เห็นปลาจึงนำออกมา คิดว่าเจ้าของปลาเหล่านี้มีไหมหนอ จึงประกาศขึ้น ๓ ครั้ง เมื่อไม่เห็นเจ้าของ จึงคาบปลายเถาวัลย์นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้ อันเป็นที่อยู่ของตน คิดว่า เราจักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่.

ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกออกเที่ยวแสวงหาเหยื่อได้เห็นเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว และหม้อนมส้ม ๑ หม้อ ในกระท่อมของคนเฝ้านาคนหนึ่ง คิดว่า เจ้าของของสิ่งนี้มีอยู่หรือไม่หนอ จึงร้องประกาศขึ้น ๓ ครั้ง ไม่เห็นเจ้าของ จึงสอดเชือกสำหรับหิ้วหม้อนมส้มไว้ที่คอ เอาปากคาบเนื้อย่างและเหี้ย นำไปเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่นอนของตน คิดว่า จักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตนอยู่.

ฝ่ายลิงเข้าไปยังไพรสณฑ์ นำพวงมะม่วงมาเก็บไว้ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตน คิดว่า จักกินเมื่อถึงเวลา จึงนอนนึกถึงศีลของตน.

ส่วนพระโพธิสัตว์คิดว่า พอถึงเวลาจักออกไปกินหญ้าแพรก จึงนอนอยู่ในพุ่มไม้เป็นที่อยู่ของตนนั่นแหละ คิดอยู่ว่า เราไม่อาจให้หญ้าแก่พวกยาจกผู้มายังสำนักของเรา แม้งาและข้าวสารเป็นต้นของเรา ก็ไม่มี ถ้ายาจกจักมายังสำนักของเราไซร้ เราจักให้เนื้อในร่างกายของเรา.

ด้วยเดชแห่งศีลของพระโพธิสัตว์นั้น ภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการเร่าร้อน.

ได้ยินมาว่า ภพนั้นเป็นภพร้อน เพราะท้าวสักกะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ หรือเมื่อสัตว์อื่นผู้มีอานุภาพมากปรารถนาสถานที่นั้น หรือด้วยเดชแห่งศีลของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

ในกาลนั้น ภพของท้าวสักกะได้เร่าร้อนเพราะ เดชแห่งศีล ท้าวสักกะนั้นทรงรำพึงอยู่ ทรงทราบเหตุนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า เราจักทดลองพระยากระต่ายดู จึงครั้งแรก เสด็จไปยังที่อยู่ของนาก ได้แปลงเพศเป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

เมื่อนากกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านมาเพื่อต้องการอะไร?

จึงตรัสว่า ท่านบัณฑิต ถ้าข้าพเจ้าพึงได้อาหารบางอย่าง จะเป็นผู้รักษาอุโบสถ กระทำสมณธรรม.

นากนั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้อาหารแก่ท่าน.

เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า

ปลาตะเพียนของเรามีอยู่ ๗ ตัวซึ่งนายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำ เก็บไว้บนบก

ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีสิ่งนี้อยู่ ท่านจงบริโภคสิ่งนี้ แล้วอยู่ในป่าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ถลมุพฺภตา ความว่า แม้อันนายพรานเบ็ดตกขึ้นจากน้ำเก็บไว้บนบก.

บทว่า เอตํ ภุตฺวา ความว่า ท่านจงปิ้งมัจฉาหาร อันเป็นของเรานี้ บริโภคนั่งที่โคนไม้อันรื่นรมย์ กระทำสมณธรรมอยู่ในป่านี้เถิด.

พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ภายหลัง แล้วไปยังสำนักของสุนัขจิ้งจอก. แม้เมื่อสุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ท่านยืนอยู่ เพื่อต้องการอะไร? ก็ได้กล่าวเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.

สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้.

เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :

อาหารของคนรักษานาคนโน้น ข้าพเจ้านำเอามาไว้ในตอนกลางคืน

คือเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ.

ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารสิ่งนี้อยู่

ท่านจงบริโภคอาหารสิ่งนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺส เม ความว่า คนผู้รักษานาซึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลเรานั่น คือโน้น.

บทว่า อปาภตํ ได้แก่ อาภตํ แปลว่า นำมาแล้ว.

บทว่า มํสสูลา จ เทฺว โคธา ความว่า เนื้อย่าง ๒ ไม้ที่สุกบนถ่านไฟ และเหี้ย ๑ ตัว.

บทว่า ทธิวารกํ ได้แก่ หม้อนมส้ม.

บทว่า อิทํ เป็นต้นไปมีความว่า เรามีสิ่งนี้ คือมีประมาณเท่านี้ ท่านจงปิ้งสิ่งนี้แม้ทั้งหมด โดยการให้สุกตามความชอบใจแล้วบริโภค เป็นผู้สมาทานอุโบสถ นั่งที่โคนไม้อันน่ารื่นรมย์ กระทำสมณธรรมอยู่ในป่านี้เถิด.

พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ภายหลัง แล้วไปยังสำนักของลิง แม้เมื่อลิงนั้นกล่าวว่า ท่านยืนอยู่ เพื่อต้องการอะไร? จึงกล่าวเหมือนอย่างนั้น นั่นแหละ.

ลิงกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักให้.

เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า

ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็นเป็นที่รื่นรมย์ใจ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพปกฺกํ ได้แก่ ผลมะม่วงสุกอันอร่อย.

บทว่า อุทกํ สีตํ ได้แก่ น้ำในแม่น้ำคงคาเย็น.

บทว่า เอตํ ภุตฺวา ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงบริโภคผลมะม่วงนี้ แล้วดื่มน้ำเย็น นั่งที่โคนไม้ อันรื่นรมย์ตามชอบใจ แล้วกระทำสมณธรรมอยู่ในชัฏป่านี้เถิด.

พราหมณ์กล่าวว่า เรื่องนี้จงยกไว้ก่อนเถิด ข้าพเจ้าจักรู้ในภายหลัง แล้วไปยังสำนักของสสบัณฑิต แม้เมื่อสสบัณฑิตนั้นกล่าวว่า ท่านมาเพื่ออะไร? ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้น นั่นแหละ.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นก็มีความชื่นชมโสมนัส กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมายังสำนักของเรา เพื่อต้องการอาหาร ได้ทำดีแล้ว วันนี้ ข้าพเจ้าจักให้ทานที่ยังไม่เคย ให้ ก็ท่านเป็นผู้มีศีล จักไม่ทำปาณาติบาต ท่านจงไปรวมไม้ฟืนนานาชนิด มาก่อถ่านไฟ แล้วจงบอกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักเสียสละตน โดดลงในกลางถ่านไฟ เมื่อร่างกายของข้าพเจ้าสุกแล้ว ท่านพึงกินเนื้อ แล้วกระทำสมณธรรม.

เมื่อจะเจรจากับท้าวสักกะนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :

กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร ท่านจงบริโภคเรา ผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมํ ภุตฺวา ความว่า ท่านจงบริโภคเราผู้สุกด้วยไฟที่เราบอกให้ท่านก่อขึ้นนี้ แล้วจงอยู่ในป่านี้. ธรรมดาว่า ร่างกายของกระต่ายตัวหนึ่ง ย่อมจะพอยังชีพของบุรุษคนหนึ่ง ให้เป็นไปได้.

ท้าวสักกะได้ทรงสดับถ้อยคำของสสบัณฑิตนั้นแล้วจึงเนรมิตกองถ่านเพลิงกองหนึ่ง ด้วยอานุภาพของตน แล้วบอกแก่พระโพธิสัตว์.

พระโพธิสัตว์นั้นลุกขึ้นจากที่นอนหญ้าแพรกของตน แล้วไปที่กองถ่านเพลิงนั้น คิดว่า ถ้าสัตว์เล็กๆ ในระหว่างขนของเรามีอยู่ สัตว์เหล่านั้นอย่าตายด้วยเลย แล้วสะบัดตัว ๓ ครั้ง บริจาคร่างกายทั้งสิ้น ในทานมุขปากทางของทาน กระโดดโลดเต้นมีใจเบิกบาน กระโดดลงในกองถ่านเพลิง เหมือนพระยาหงส์กระโดดลงในกอปทุม ฉะนั้น. แต่ไฟนั้นไม่อาจทำความร้อน แม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของพระโพธิสัตว์ ได้เป็นเสมือนเข้าไปในห้องหิมะ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เรียกท้าวสักกะมา กล่าวว่า พราหมณ์ ไฟที่ท่านก่อไว้เย็นยิ่งนัก ไม่อาจทำความร้อน แม้สักเท่าขุมขนในร่างกายของข้าพเจ้า นี่อะไรกัน.

ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ เราเป็นท้าวสักกะ มาเพื่อจะทดลองท่าน.

พระโพธิสัตว์จึงบรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่ท้าวสักกะ พระองค์จงหยุดพักไว้ก่อนเถิด หากโลกสันนิวาสทั้งสิ้นจะพึงทดลองข้าพระองค์ด้วยทานไซร้ จะไม่พึงเห็นความที่ข้าพระองค์ไม่เป็นผู้ประสงค์จะให้ทานเลย.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสกะพระโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อนสสบัณฑิต คุณของท่านจงปรากฎอยู่ตลอดกัปทั้งสิ้นเถิด. แล้วทรงบีบบรรพต ถือเอาอาการเหลวของบรรพต เขียนลักษณะของกระต่ายไว้ในดวงจันทร์ แล้วนำพระโพธิสัตว์มาให้นอนบนหลังหญ้าแพรกอ่อน ในพุ่มไม้ป่านั้นนั่นแหละ ในไพรสณฑ์นั้น แล้วเสด็จไปยังเทวโลกของพระองค์ทีเดียว.

บัณฑิตทั้ง ๔ แม้นั้นพร้อมเพรียงบันเทิงอยู่ พากันบำเพ็ญศีล รักษาอุโบสถกรรม แล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะ ประชุมชาดก.

ในเวลาจบสัจจะ คฤหบดีผู้ถวายบริขารทุกอย่าง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

นากในกาลนั้น ได้เป็น พระอานนท์

สุนัขจิ้งจอกได้เป็น พระโมคคัลลานะ ลิงได้เป็น พระสารีบุตร ท้าวสักกะได้เป็น พระอนุรุทธะ ส่วนสสบัณฑิตได้เป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาสสบัณฑิตชาดกที่ ๖

ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๒ ๑. ให้ทานโดยศรัทธา ผู้ที่เป็นสัตบุรุษ คือคนดีทั้งหลายนั้นย่อมให้ทานเพราะเชื่อกรรม และผล ของกรรมว่ามีจริงจึงให้ ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดูน่าเลื่อม ใส มีผิวพรรณงดงามในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล ๒. ให้ทานโดยเคารพ คือ ให้ด้วยกิริยาที่เคารพ นอบน้อม ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์ มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส และคนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เคารพเชื่อฟัง สนใจสดับรับ ฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล ๓. ให้ทานตามกาลอันควร ครั้นให้แล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อม เป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ๆ ทานนั้นเผล็ดผล คือ เป็นผู้มีทรัพย์มาตั้งแต่วัยเด็ก สามารถจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในขณะที่ยังมีกำลังวังชาแข็งแรง สติปัญญาเฉียบแหลม ไม่ใช่ได้ทรัพย์มาเมื่อหมดกำลังกายและกำลังปัญญาจะนำทรัพย์สินนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว กาลทาน หรือทานที่ให้ในกาลอันควรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ใน กาลทานสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่ามีอยู่ ๕ อย่าง คือ ๑. อาคันตุกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน หมายความว่าผู้นั้นเป็นผู้มาใหม่ ยังไม่รู้จัก สถานที่และบุคคลในถิ่นนั้น เราก็ช่วยสงเคราะห์ให้ที่พักหรือข้าวของต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความสะดวกสบาย แม้พระภิกษุที่จรมาจากที่อื่น ท่านยังไม่รู้จักทางที่จะไปบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุที่อยู่ก่อนหรืออุบาสก อุบาสิกา ก็ช่วยอนุเคราะห์ท่าน ด้วยการถวายอาหารบิณฑบาต และของใช้ที่จำเป็นแก่สมณะ ทำให้ท่านได้รับความ สะดวกสบายไม่เดือดร้อน อย่างนี้จัดเป็น อาคันตุกะทาน และเป็นกาลทาน ๒. คมิกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้เตรียมตัวจะไป หมายความว่า ให้แก่บุคคลที่เตรียมตัวจะไปยัง ถิ่นอื่น สัตบุรุษย่อมสงเคราะห์คนที่จะเดินทางไปนั้น ด้วยค่าพาหนะ หรือด้วยยานพาหนะ ตลอดจนเครื่อง อุปโภคบริโภคที่สมควร ๓. ทุพภิกขทาน คือ ทานที่ให้ในสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยาก ได้รับความเดือดร้อน แม้ในสมัยที่น้ำท่วม ไฟไหม้ ผู้คนเดือดร้อนไร้ที่อยู่ การให้ที่พักอาศัย และข้าวของ เครื่องใช้ข้าวปลาอาหาร ในเวลานั้น ก็จัดเป็นกาลทาน ๔. นวสัสสะทาน การให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๕. นวผละทาน การให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ที่ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเป็นกาลทาน เพราะข้าวใหม่ก็ดีผลไม้ที่ออกใหม่ตามฤดูกาลก็ดี มิใช่ว่า จะมีอยู่เสมอตลอดปี มีเป็นครั้งเป็นคราวตามฤดูกาลเท่านั้น สัตบุรุษย่อมนำข้าวใหม่และผลไม้ที่เพิ่งออกใหม่ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล แล้วจึงบริโภคเองต่อภายหลัง ท่านที่เคยมีชีวิตอยู่ในชนบทคงจะเคยพบเห็น ว่า เวลาที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม ชาวนาก็จะเก็บเอารวงข้าวอ่อนมาทำเป็นข้าวยาคูถวายพระ ข้าวแก่อีกนิด ก็เอามาทำเป็นข้าวเม่า ข้าวสุกแล้วก็เอามาสีเป็นข้าวสารหุง ถวายพระภิกษุผู้ทรงศีลก่อน แม้ชาวสวนเมื่อ ผลไม้แก่จัดเขาก็จะเก็บเอามาถวายพระเสียก่อน แล้วจึงนำออกขายหรือบริโภคเอง คนที่มิใช่ชาวนาชาวสวน บางคน เมื่อเห็นข้าวใหม่หรือผลไม้ออกใหม่วางขายตามตลาด ก็ซื้อมาแบ่งถวายพระเสียก่อนแล้วจึงบริโภค นับว่าท่านเหล่านี้ ได้ทำบุญของท่านถูกกาละเทศะเป็นอย่างยิ่ง ตรงต่อคำสอนของพระบรมศาสดา ในข้อ กาลทาน บางแห่งท่านรวมเอาการให้ข้าวใหม่ และการให้ผลไม้ใหม่ไว้เป็นข้อเดียวกัน แล้วเพิ่ม คิลานทาน คือ การให้ทานแก่คนเจ็บไข้ไร้ที่พึ่ง ด้วยยา และอาหารเป็นต้น ซึ่งคิลานทาน นี้ก็สมควรจะเป็นกาลทานได้ เช่นกัน เพราะเหตุที่กาลทาน เป็นทานที่ให้ในเวลาจำกัดทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่าเป็นทานที่มีผลมาก ยิ่งให้ในผู้มีศีลผู้ประพฤติตรงยิ่งมีผลมาก แม้บุคคลผู้อนุโทนาต่อทานของผู้นั้น หรือช่วยเหลือให้ทานของผู้นั้นสำเร็จผล ก็ได้รับผล ทั้งบุญของผู้ให้ก็ไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้นบุคคลจึงควร ยินดีในการให้ทาน ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผลมาก ทั้งยังติดตามไปเป็นที่พึ่งแก่เขาในโลกหน้าด้วย ๔. มีจิตคิดอนุเคราะห์จึงให้ หมายความว่า สัตบุรุษนั้นเมื่อเห็นผู้ใดได้รับความลำบาก ขาด แคลนสิ่งใด ก็มีจิตคิดช่วยเหลือคนเหล่านั้นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนโดยไม่คิดว่าเมื่อเรา ช่วยเหลือเขาแล้ว เขาจะต้องตอบแทนคุณของเรา แต่ช่วยเหลือเพราะต้องการให้คนเหล่านั้นได้รับความสุข สบาย ครั้นให้แล้วย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ ที่สูงๆที่ประณีต ที่เป็นของดียิ่งๆ ขึ้นไปในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล ๕. ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น หมายความว่าไม่กระทบคุณงามความดีของตน และ ไม่กระทบคุณงามความดีของผู้อื่น บางคนเคยทำทานด้วยทรัพย์สินและเงินทองครั้งละมากๆ แต่บางคนก็ทำ เพียงครั้งละเล็กๆ น้อยๆ ตามฐานะของตน คนที่ทำมากบางคนทำแล้วก็ชอบข่มคนอื่น ชอบกล่าววาจาดูถูก ผู้อื่นที่ทำน้อยกว่า เป็นการยกตนข่มท่านอย่างนี้ชื่อว่าทำให้คุณงามความดีของตนลดน้อยลง เพราะอะไร เพราะเราอุตส่าห์ละความตระหนี่ นำทรัพย์สินเงินทองออกทำบุญให้ทาน แต่แล้วเราก็กลับทำลาย ความดีของเราเองด้วยการเพิ่มกิเลส คือดูถูก ดูหมิ่นผู้อื่น ทั้งผู้ที่ทำบุญให้ทานน้อยนั้นเกิดได้ยินคำพูดอันไม่ เพราะหูนั้นเข้า ถ้าเขาขาดโยนิโสมนสิการ จิตใจที่เป็นกุศลของเขาก็ดับวูบลง แล้วอกุศลคือความโทมนัสเสีย ใจก็จะเกิดขึ้นแทน อย่างนี้ชื่อว่าทำลาย คุณงามความดีของผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นเสื่อมจากคุณความดี คือกุศลที่มี อยู่ หรือบางคนเป็นผู้รักษาศีล ๕ โดยเคร่งครัดแต่ได้ให้สุรายาเมาเป็นทานแก่ผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ก็ ตามทำให้ผู้รับมึนเมา ขาดสติ สามารถจะกระทำบาปอกุศลต่างๆ มีการฆ่าสัตว์เป็นตนได้ อย่างนี้ก็เป็นการ ให้ที่กระทบความดีของตนและผู้อื่นเช่นกัน เพราะเราเป็นผู้มีศีลอยู่แล้ว แทนที่จะชักชวนคนอื่นให้เขามีศีล อย่างเรา กลับทำให้เขาเสื่อมเสียจากศีล ทานอย่างนี้สัตบุรุษท่านไม่กระทำ สัตบุรุษครั้นให้ทานโดยไม่กระทบ ตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และโภคทรัพย์นั้น ย่อมไม่เป็นอันตรายจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากทายาทหรือจากคนที่ไม่เป็นที่รักในที่ๆ ทานนั้นให้ผล

ที่มา ชาดก และ ผู้แต่งเรื่อง โดย ประณีต ก้องสมุทร

ฝ่ายนิทานปรัมปราจีน กระต่ายบนดวงจันทร์ ปรากฎใน 大唐西域記 เล่าแบบพระไตรปิฎกเปะ ว่ามี ลิง จิ้งจอก กระต่าย (พระไตรปิฎกเล่าว่า นาก ด้วย) เล่าว่าเง็กเซียนฮ่องเต้ ซาบซึ้งในความเสียสละ ให้ไปอยู่บนดวงจันทร์ กับ นางฟ้าฉางเอ๋อ

就在兔子跳入熱鍋的一剎那,突然有一雙溫暖的大手,將兔子從滾燙的鍋子撈出來。原來,兔子的善心,感動了玉皇大帝,於是便派人將兔子救出來,並且封他為「玉兔」,在月亮裡陪伴月神娘娘-嫦娥,讓大家時時感念兔子的慈悲心胸。

จะเห็นได้ว่า ตำนานคงเอามาจากชาดก เพราะยุคสมัยถัง พุทธศาสนาเริ่มรุ่งเรืองในจีน

นักษัตรกระต่าย ตามโหราศาสตร์จีนเรียก เหม่า หรือ เบ้า 卯 ผู้ที่เกิดในปีกระต่าย เชื่อว่า มีความจำดี เป็นนักพูดกล่อมให้คนคล้อยตามได้ดี ชอบเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ ชอบสร้างความประทับใจแต่ขี้ระแวงคิดมากสงสัย และล้มเหลวที่จะประทับใจ ลึกๆอีโก้สูงต่อให้ผิวเผินดูน่าคบ ไม่ใช่คนรักเดียวใจเดียว รสนิยมทางเพศทำให้เสียการเสียงาน จะโชคดีหากเกิดในฤดูธาตุไฟ ราวๆเดือน พค ถึง กค

ซินแสหลัว

ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ลูกตุ้มโมเมนตั้ม ช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังสือได้

จากคำถามที่มีผู้ถามมาว่า ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับ ลูกตุ้มโมเมนตั้ม นะคะ คือดิฉันไปได้ยินมาว่า สามารถช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังส...

เลขมงคลประจำยุคนี้

พูดตรงๆนะ ผมไม่ใช่คนเรียบร้อยผ้าพับไว้ ผมไปเห็นบางคนบางท่านผมก็ยังนึกดีใจ ชื่นชม และบางทีก็ละอายใจ ว่า เขาเรียบร้อย หรือ...

Comments


bottom of page