top of page
รูปภาพนักเขียนหมอซินแส

《太极图说》 คำอธิบายภาพ ไทเก๊ก (ไท่จี๋ถู)

ภาพไทเก็ก-ไทเก๊ก-ไท่จี๋ถู

《太极图说》 คำอธิบายภาพ ไทเก๊ก (ไท่จี๋ถู) โดยท่าน โจวตุนหยี ปราชญ์สมัยราชวงศ์ซ่ง ราวพันกว่าปีที่แล้ว เป็นทั้งนักอักษรศาสตร์และนักปรัชญา เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดสำคัญหลายเรื่อง ผลงานมากมาย เช่นตำรา《周元公集》《爱莲说》《太极图说》《通书》

无极而太极。 ถ้าอ่านแบบจับใจความนะ ก็คือ บ่เก็ก เกิด ไท้เก็ก คือระหว่าง ความดับ กับ ความเกิด ระหว่าง ความว่าง 无极 กับ ความเต็มสุดโต่ง 太极。

太极动而生阳,动极而静,静而生阴,静极复动。 ไร้นาม แล้ว เกิด นามรูป นามรูปกระทบจึ่งเกิดหยาง (พลังความเคลื่อนไหว) กระทบถี่มากจนสงบ สงบก็เกิดยิน สงบนานไปก็แปรปรวนเปลี่ยนไปเป็นกระทบ เป็นทุกข์ คือไม่เที่ยง เกิด ดับ สลับกันไป

一动一静,互为其根。 เดี๋ยวไหว เดี๋ยวสงบ ต่างมีความเกื้อกูลสัมพันธ์กันเป็นบาทฐาน

分阴分阳,两仪立焉。 แบ่งสงบ(ยิน) แบ่งไหว(หยาง) สองสภาพก่อร่างขึ้นมาแบบนี้แล

阳变阴合,而生水火木金土。 ไหว(หยาง) แปร ผัน สงบ(ยิน) ประสาน รวม สลด สรุป เอาละ คู่กัน ทีนี้เลยก่อเกิดปราณ(气)น้ำ ไฟ ไม้ ทอง ดิน

五气顺布,四时行焉。五行一阴阳也,阴阳一太极也,太极本无极也。 ทั้งห้าปราณ"เป็นไป"อย่างมีแบบแผน ฤดูกาลทั้งสี่ ก็เคลื่อนคล้อยเปลี่ยนผันไป ห้าปราณ – ห้าธาตุ(五行 ดิน ทอง น้ำ ไม้ ไฟ)ก็คือ ยินหยาง ยินหยางนั้นก็คือไท้เก็ก(太极ตามที่อธิบายด้านบน) ที่แท้แล้ว ความเต็มสุดโต่ง หรือความมี ความเป็น ก็มาจากความว่าง ความไม่มีไม่เป็นนั้นเอง

五行之生也,各一其性。 นี้คือบ่เกิดของห้าธาตุ แต่ละอันล้วนมีลักษณะประจำแต่ละตัว

无极之真,二五之精,妙合而凝。乾道成男,坤道成女。 บ่เก็ก (无极ความไร้ ความสิ้นไป ความว่าง) ถ้าพิเคราะห์ลงไป ก็คือ พลังของ ยินหยางห้าธาตุที่ทำงานบริบูรณ์

二气交感,化生万物。万物生生而变化无穷焉。 สองปราณแลกเปลี่ยน แปรสภาพเกิดสรรพสิ่ง สรรพสิ่ง(นาม/รูป)ก็เกิด พอเกิดก็แปรปรวนเปลี่ยนแปรเป็นอื่นไป ไม่มีที่สิ้นสุด

唯人也得其秀而最灵。 คนทั่วไป คนใดก็ได้ เมื่อเข้าถึง เข้าใจ ก็จะเกิดความรู้รอบ ถึงจุดสูงสุดไดเ

形既生矣,神发知矣。 รูป(สิ่งที่ปรากฎ)ก็มาจาก "เกิด" วิญญาณทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมา(จริงๆระหว่างคั่นของการเกิดนี้ ยังเกิดหลายอย่าง แต่คำอธิบายนี้ รวบรัด)

五性感动而善恶分,万事出矣。 ห้าธาตุห้าปราณห้าลักษณะทางอารมณ์นี้ รับรู้ กระทบ ไปมา บุญ บาป ดี เลว จึ่งแบ่งแยก คราวนี้ละคือการแสดงออกของสรรพสิ่ง

圣人定之以中正仁义而主静,立人极焉。 วิญญูชนเมื่อศรัทธาตั้งมั่นจึ่งไม่คลอนแคลนเข้าถึงความบริสุทธิ์ ถึงความกรุณา ลุถึงความสงบ สามารถถึงจุดสูงสุดได้

故圣人“与天地合其德,日月合其明,四时合其序,鬼神合其吉凶”,君子修之吉,小人悖之凶。 ฉะนี้เอง วิญญูชน เข้าใจความสัมพันธ์ของกาลเวลาและสถานที่(เข้าใจโลก)จึ่งเข้าใจธรรม ฟ้าดินผสานจึ่งเกิดคุณลักษณะนี้ ตะวันจันทราผสานจึ่งเกิดแสงสว่าง ฤดูการทั้งสี่ผสาน(คือมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเกาะเกี่ยวกัน)จึ่งมีแบบแผน มีกฎเกณฑ์ออกมา มีผีมีเทพก็มีความเฮงความซวยออกมา บัณฑิตบำเพ็ญจึ่งพบสุข ทรชนกลับตรงข้ามจึ่งได้ทุกข์ร้อน

故曰:“立天之道,曰阴与阳。 ฉะนี้แล จึ่งกล่าวว่า เมื่อกล่าวถึงวิถีแห่งฟ้า ถึงสิ่งแวดล้อม ที่จับต้องไม่ได้ ก็เอ่ยอ้างบัญญัติว่ายินกับหยาง

立地之道,曰柔与刚。 เมื่อกล่าวถึงวิถีแห่งดิน ถึงโลก ที่จับต้องได้ ก็เอ่ยอ้างบัญญัติว่าความอ่อนกับความกระด้าง

立人之道,曰仁与义。 เมื่อกล่าวถึงวิถีชีวิต ก็เอ่ยอ้างบัญญัติว่าความผ่อนปรนกับเคร่งครัด เอื้ออารีย์กับชัดเจน กรุณาและคุณธรรม

”又曰:“原始反终,故知死生之说。 ยังกล่าวได้ว่า ด้วยเพราะมีจุดเริ่มก็กลับกลายเป็นจุดจบ ณ ต่อมา ทำให้เห็นความเกิด ความดับ ว่าอย่างนี้ๆ

”大哉易也,斯其至矣! ทั้งหมดทั้งมวลก็คือความเปลี่ยนแปร (易) นี้แล ก็เป็นมาแบบนี้นั่นเอย

แปลโดย ซินแสหลัว LINE : @chinesehoro

ภาพไทเก็ก-ไทเก๊ก-ไท่จี๋ถู
ดู 0 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

ลูกตุ้มโมเมนตั้ม ช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังสือได้

จากคำถามที่มีผู้ถามมาว่า ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับ ลูกตุ้มโมเมนตั้ม นะคะ คือดิฉันไปได้ยินมาว่า สามารถช่วยในเรื่องของฮวงจุ้ยในการอ่านหนังส...

เลขมงคลประจำยุคนี้

พูดตรงๆนะ ผมไม่ใช่คนเรียบร้อยผ้าพับไว้ ผมไปเห็นบางคนบางท่านผมก็ยังนึกดีใจ ชื่นชม และบางทีก็ละอายใจ ว่า เขาเรียบร้อย หรือ...

Comments


bottom of page